กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/750
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุลth
dc.contributor.authorสรวิศ เผ่าทองศุขth
dc.contributor.authorชลี ไพบูลย์กิจกุลth
dc.contributor.authorบัญชา นิลเกิดth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/750
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการใช้เทคโนโลยีโอโซนปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบ่งการทดลองเป็น 6 การทดลอง ดังนี้ 1) ศึกษาปริมาณความเข้มข้นโอโซนผลิตสุทธิ 2) ศึกษาผลของความเค็มและการพ่นโอโซนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสารประกอบไนโตรเจน 3) ศึกษาผลของความเค็มและการพ่นโอโซนที่มีผลต่อการกำจัดสีของอินทรีย์สาร 4) ศึกษาผลของสารแขวนลอยและการพ่นโอโซนต่อประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Vibrio harveyi 5) ศึกษาผลของความเค็มและการพ่นโอโซนต่อประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Vibrio harveyi และ 6) ศึกษาการใช้โอโซนเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง ผลการวิจัยพบว่า ที่กำลังการผลิตของเครื่องโอโซนทั้ง 3 ระดับ (8,12 และ 16 L/min) มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปริมาณความเข้มข้นโอโซนผลิตสุทธิที่ระยะเวลา 5, 30 และ 60 นาที ที่คล้ายคลึงกันโดยมีปริมาณความเข้มข้นโอโซนผลิตสุทธิที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการพ่นที่นานขึ้น การศึกษาผลของความเค็มและการพ่นโอโซนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจนพบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) ระหว่างความเค็มกับการพ่นโอโซน จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลแยกตัวแปร การศึกษาผลของความเค็มและการพ่นโอโซนที่มีผลต่อการกำจัดสีของอินทรีย์สาร พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเค็มกับการพ่นโอโซนอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ต่อการเปลี่ยนสีของสารอินทรีย์ในน้ำ จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลแยกตามระดับของความเค็มและการพ่นโอโซน การศึกษาผลของสารแขวนลอยและการพ่นโอโซนต่อประสิทธิภาพการยับยั้งเชื่อแบคทีเรีย Vibrio harveyi พบว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) ระหว่างปริมาณของสารแขวนลอยและการพ่นโอโซน จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลแยกตัวแปร การศึกษาผลของความเค็มและการพ่นโอโซนต่อประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย V. harveyi พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความเค้มกับการพ่นโอโซนอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย V. harveyi จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลแยกตามระดับของความเค็มและการพ่นโอโซน การใช้โอโซนเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งโดยเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 40, 60 และ 80 ตัวต่อตารางเมตร ผลการวิจัยพบว่า การพ่นโอโซนช่วยทำให้เลี้ยงกุ้งที่ระดับความหนาแน่นเพิ่มขึ้นได้โดยมีค่าความเข้มข้นของไนไตร์ท ไนเตรท และแบคทีเรียรวมทั้งหมดในน้ำไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ในการเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 60 และ 80 ตัวต่อตารางเมตร สำหรับการเจริญเติบโตของกุ้งทั้งด้านน้ำหนัก ความยาว และอัตราการรอด พบว่า การเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 40 และ 60 ตัวต่อตารางเมตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการบำบัดน้ำ เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยการใช้โอโซนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากช่วยลดปริมาณการใช้ยา และเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2550 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการจัดการคุณภาพน้ำth_TH
dc.subjectคุณภาพน้ำth_TH
dc.subjectน้ำเสีย - - การบำบัด - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.subjectโอโซนth_TH
dc.titleเทคโนโลยีการบำบัดน้ำโดยการใช้โอโซนเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำth_TH
dc.title.alternativeWater treatment technology by ozone for improved water qualityen
dc.typeResearch
dc.year2551
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to examine water treatment technology by ozone for improved water quality in aquaculture. The study had been divided into 6 experiments, including: 1) study of content of total ozone production, 2) effect of salinity and ozonation on nitrogen compound conversion, 3) effect of salinity and ozonation on organic color removal, 4) effect of suspended soild and ozonation on efficiency of Vibrio harveyi control 5) effect of salinity and ozonation on efficiency of Vibrio harveyi control and 6) study of water quality improvement by ozone treatment for shrimp culture. Results demonstrated that three levels of ozone production, 8, 12 and 16 L/min could produce closely content of total ozone production. Amount of total ozone production increased follow by duration of ozonation. Result of effect of salinity and ozonation on nitrogen compound conversion showed not significantly interaction (P>0.05) between salinity and ozonation then the data analysis was separated factors. Consequence of effect of salinity and ozonation on organic color removal found significantly interaction (P<0.05) then data analysis separated by levels of salinity and ozonation had been used. Result of effect of suspended solid and ozonation on efficiency of Vibrio harveyi control demonstrated not significantly interaction (P>0.05) between suspended soild and ozonation then the data analysis was separated factors. Consequence of effect of salinity and ozonation on efficiency of Vibrio harveyi control exhibited significantly interaction (P<0.05) then data analysis separated by levels of salinity and ozonation had been used. Consequence of study of water quality improvement by ozone treatment for shrimp culture at 40, 60 and 80 ind/m2 shrimp densities evinced that ozonation could raise density of shrimp. Quantities of nitrite, nitrate and total bacteria had not significantly diffenent (P>0.05) between shrimp cultured at 60 and 80 ind/m2 shrimp densities. Forty and sixtyind/m2 shrimp densities of shrimp culture had not significantly different (P>0.05) for growth and survival rate of shrimp. The outcome of this study could apply for improved efficiency of water treatment by ozone in aquaculture because to reduced drugs and chemical agents usage in aquaculture and environmental friendly.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น