กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/747
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุนันทา โอศิริth
dc.contributor.authorรติกร ประเสริฐไทยเจริญth
dc.contributor.authorศักดิ์นเรศ กลิ่นกุหลาบทองth
dc.contributor.authorสุพัทรา ชลพนารักษ์th
dc.contributor.authorจิระสันต์ มีรัตน์th
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ โอศิริth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/747
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความชุกของสิ่งปนเปื้อนชนิดต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนที่พบบ่อยในวงจรอาหารทะเลภาคตะวันออก แนวทางการลดการปนเปื้อน และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงาน องค์การต่าง ๆ เพื่อลดการปนเปื้อนในอาหารทะเลภาคตะวันออก และประเมินผลสำเร็จและความยั่งยืน ผลการวิเคราะห์ความชุกของสิ่งปนเปื้อนในอาหารทะเล ตามโครงการรถหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ใน 9 จังหวัดของภาคตะวันออก มีการตรวจ 1243 รายการ ตรวจพบฟอร์มาลิน 39 รายการ จากการตรวจ 921 รายการ (4.23%) พบส่วนใหญ่ในปลาหมึกกรอบ ปลาหมึกสด ปลา กุ้ง ตรวจพบบอแรกซ์ 10 รายการ จากการตรวจ 16 รายการ (65.5%) คือ ในปลาบด ส่วนการตรวจอื่น ๆ คือ สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง และซาลิซิลิค ไม่พบการปนเปื้อน การสำรวจร้านค้า/ แผงลอยที่จำหน่ายอาหาร ในช่วงเดือนมีนาคม 2550 ในพื้นที่หนองมน บางพระ อ่างศิลา ตลาดใหม่ ศรีราชา นาเกลือ จังหวัดชลบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่มีการจำหน่ายสินค้าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมด 230 แห่ง มีอาหารทะเลที่จำหน่ายรวม 404 รายการแบ่งเป็น อาหารสด 168 รายการ (41.6%) อาหารแปรรูป 138 รายการ (34.2%) และอาหารแห้ง 98 รายการ (24.3%) ปัญหาคุณภาพของสินค้าส่วนใหญ่ที่พบ คือ พบเชื้อราเพราะอบไม่แห้ง รองลงมาคือ เน่าเสีย เก็บได้ไม่นาน แหล่งที่มาของอาหารทะเลส่วนใหญ่มาจาก บ้านเพ จ. ระยอง หาดวอนนภา จ. ชลบุรี ตลาดใหมี ชลบุรี และอื่น ๆ ผลการสำรวจผู้ผลิตอาหารทะเลบริเวณหาดวอนนภา บางแสน จังหวัดชลบุรี มีการทำกุ้งแห้ง พบว่ากระบวนการผลิตยังไม่ถูกสุขลักษณะ ผลการประชุมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนและเสนอแนะการดำเนินการเพื่อให้อาหารทะเลปลอดภัย ได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ การสร้างความร่วมมือในระดับท้องถิ่น การจัดตั้งศูนย์ที่จะใช้ในการตรวจสารในอาหารทะเลและรับรองมาตรฐานส่งออก และให้ภาควิชาการหาวิธีการทำให้กุ้งมีสีแดงโดยไม่ใช้สีสังเคราะห์ตลอดจนหาวิธีทำให้ของสดไม่เน่าเสียโดยที่ไม่ต้องใช้สารกันเสียที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มแกนนำผู้จำหน่ายอาหารทะเล บริเวณตลาดหนองมน ที่มีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการคือ ปัญหาสินค้าจำพวกปลาหมึกอบต่าง ๆ อบมาไม่แห้ง ทำให้มีราขึ้น ผลการอบรมผู้จำหน่ายอาหารทะเล โดยร่วมมือกับเทศบาลเมืองแสนสุข และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ในระดับดี ถึง ดีมาก และจะนำความรู้ที่ได้กลับไปปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น และต้องการให้แนะนำการพัฒนาสู่สินค้ามาตรฐาน แบ่งบรรจุโดยมีเครื่องหมาย อย. กำกับ ทั้งนี้เทศบาลเมืองแสนสุข จะดำเนินการจัดการประชุมอีกให้ผู้ผลิต/ ผู้จำหน่ายทุกสถานประกอบการเข้าร่วม และจัดประชุมสำหรับผู้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในพื้นที่นี้ด้วยให้ตระหนักในด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้ชุดโครงการวิจัย อาหารทะเลปลอดภัย ปีที่ 1 พ.ศ. 2550en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความปลอดภัยทางด้านอาหารth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectอาหารทะเล - - มาตรการความปลอดภัยth_TH
dc.subjectอาหารทะเล - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.titleสถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของอาหารทะเลในภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeSituation, risk factors and management for sea food safety in the Easten
dc.typeResearch
dc.year2550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น