กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/738
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอรพิน รังษีสาคร
dc.contributor.authorถิรพงษ์ ถิรมนัสth
dc.contributor.authorสุนิศา แสงจันทร์th
dc.contributor.authorศิริพร จันทร์ฉายth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:05Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:05Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/738
dc.description.abstractการศึกษาคร้ังนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Study) เพื่อศึกษาสภาพงานและภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด และภาวะสุขภาพพนักงานหญิงมีครรภ์ ที่มีสภาพงานและความปลอดภัยแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงมีครรภ์ที่ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวม 432 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพงานและความปลอดภัยในการทำงาน การฝากและดูแลครรภ์ และภาวะสุขภาพหญิงมีครรภ์ ร่วมกับบันทึกข้อมูลสุขภาพมารดาจากสมุดฝากครรภ์ และระเบียนประวัติและบันทึกข้อมูลทารกจากสมุดบันทึกการคลอดและสมุดบันทึกทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง t-test, ANOVA และ Chi-square test ผลการศึกษาครั้งนี้ หญิงมีครรภ์มีอายุเฉลี่ย 26.3 ปี รายได้รวมของหญิงมีครรภ์และสามีเฉลี่ย 10,465 บาทต่อเดือน หญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.4 ทำงานในแผนกผลิต และร้อยละ 14.96 ทำงานกับสายประกอบงานของเครื่องจักรตลอดเวลา และ ร้อยละ 59.3 นั่งทำงาน และเคลื่อนไหวเฉพาะมือตลอดเวลางาน ร้อยละ 9.7 ทำงานระบบกะ ร้อยละ 27.9 ทำงานล่วงเวลาในขณะตั้งครรภ์ หญิงมีครรภ์ร้อยละ 12.04 มีประวัติการตั้งครรภ์เสี่ยง ที่พบมาก คือ ประวัติการแท้งในไตรมาสที่ 1 หญิงมีครรภ์มีอาการแพ้ท้อง ร้อยละ 19.3 ไข้ร้อยละ 7.7 ตกเลือดทางช่องคลอดร้อยละ 2.6 และได้รับบาดเจ็บที่นิ้วมือ และมือ ร้อยละ 0.7 ไตรมาสที่ 2 แพ้ท้อง ร้อยละ 4.5 0.2 และ 0.2 ตามลำดับ ไข้ร้อยละ 8.1 ได้รับบาดเจ็บที่นิ้วมือและมือ ร้อยละ 0.96 ไตรมาสที่ 3 หญิงมีครรภ์ร้อยละ 61.9 มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะมีอาการปวดหลังปานกลาง และมากประมาณร้อยละ 25 อีกทั้งหญิงมีครรภ์ร้อยละ 40 มีอาการบวม โดยมีปานกลางและมาก รวมแล้วร้อยละ 10.44 และมีอาการบวมเล็กน้อยร้อยละ 30.9 ผลการตั้งครรภ์มีอายุครรภ์เฉลี่ย 39.0 ± 2.3 สัปดาห์ น้ำหนักทารกแรกเกิดเฉลี่ย 3,064 ± 462.8 กรัม คลอดโดยผ่าตัดทางหน้าท้องร้อยละ 21.2 มีอาการผิดปกติขณะคลอดมากถึงร้อยละ 2.80 โดยเฉพาะคะแนน APGAR ต่ำ และพบทารกพิการ 1 ราย เสียชีวิต 2 ราย การศึกษาครั้งนี้พบลักษณะงาน และสภาพงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพหญิงมีครรภ์ และทารกในครรภ์ คือ แสงสว่างบริเวณที่ทำงานไม่เหมาะสม การทำงานบริเวณที่มีเสียงดัง มีผลกระทบต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่หนึ่ง สอง และสาม และการทำงานในสถานที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม ทำให้น้ำหนักแรกคลอดของทารกต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และในสถานที่อุณหภมิไม่เหมาะสม มีผลทำให้มีชนิดของการคลอดที่แตกต่างกัน สำหรับผลกระทบจากระบบงานต่อสุขภาพหญิงมีครรภ์ และทารกในครรภ์ พบว่า 1) ในกลุ่มหญิงมีครรภ์ที่มีระยะเวลาการทำงานต่อวัน จำนวนวันหยุดพักผ่อน และการทำงานล่วงเวลาแตกต่างกัน มีการดูแลครรภ์และฝากครรภ์แตกต่างกัน 2) การทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และการทำงานล่วงเวลา มีผลกระทบทำให้น้ำหนักแรกคลอดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) จำนวนวันหยุดพักผ่อนมีความสัมพันธ์ต่อชนิดของการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาบ่งชี้ว่า ลักษณะงาน สภาพงานและระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมบางประการ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพพนักงานหญิงมีครรภ์ และทารกในครรภ์ จึงเสนอแนะให้หญิงมีครรภ์หลีกเลี่ยงการทำงานในลักษณะงาน สภาพงานและระบบงานดังกล่าว และเสนอแนะให้เจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ กำหนดนโยบายและกลวิธีเพื่อประเมินความเหมาะสมของลักษณะงาน และความปลอดภัย และจัดสวัสดิการที่เหมาะสมแก่พนักงานหญิงมีครรภ์ และให้พนักงานหญิงมีครรภ์ทำงานในแผนกที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านระบบงาน เพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหญิงมีครรภ์ และทารกในครรภ์th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินปีพ.ศ. 2544en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในโรงงาน - - ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก - - วิจัยth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในโรงงาน - - วิจัยth_TH
dc.subjectสตรีมีครรภ์ - - วิจัยth_TH
dc.subjectสตรีมีครรภ์th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleสภาพงาน ความปลอดภัย และผลกระทบในพนักงานหญิงมีครรภ์ที่ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeWorking conditions, safety and effects on pregnant worker in the Eastern Seaboard Development Areaen
dc.typeResearch
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeThis survey study was conducted to inspect the working safety conditions, and to explore the effects on pregnancy outcomes and health status among pregnant workers. The study was carried out with 432 pregnant workers in randomly selected factories in the industrially developed part of Eastern Thailand. Individual interviews of pregnant workers were conducted regarding the working conditions, safety, health care and pregnancy health data. Other data on pregnancy health and pregnancy outcomes were obtained from the pregnancy charts and hospital records. Percentages, t-test, ANOVA, and Chi-square Tests were performed to analyze data. The study results revealed that the average age of these pregnant workers was 26.3. The average income of subjects and their husbands was 10,465 Bath per month. Most of subjects (78.4%) work in production departments, where 14.96% work with machines for the whole work day, 59.3% sit and move only hnds, and 16.3% sometimes lift things werghing less than 10 kilograms. Only 9.7% had to perform shift work, but 27.9% had to do overtime working more than 8 hours a day. Twelve percent of the pregnancies were considered high risk because of abortion history. The complications of pregnancy during the first trimester were morning sickness (19.3%), fever (7.7%), vaginal bleeding (2.6%), and trauma on the finger or hand (0.7%). Pregnancy complication during the second trimester were morning sickness (4.5%), vaginal bleeding (1.4%), premature labor pain (0.5%), toxemia (0.2%), and no quickening of the fetus (0.2%) fever (8.1%) and trauma on the finger or hand (0.96%). In the third trimester 61.9% of the respondents reported back pain, with 25% indicating moderate to sever symptoms. Also over 40% reported edema, with 10.4% reporting moderate to severe edema and another 30.9% reported mild edema. The average gestational age was 39.0 ± 2.3 weeks, and average birth weight was 3,064.5 ± 462.8 grams. Birth was cesarean section for 21.2% of the women. About three percent reported poor birth outcomes, such as low APGAR. One child had birth defects and there were 2 newborn deaths. There was significant increase in complications of pregnancy for workers in poor lighting conditions and more complications of pregnancy reported during the first, second and third trimester by loud noise conditions. There was a significant decrease of birth weight by worker comfort with temperature at work. The kind of delivery varied with the mother's computer use and comfort with temperature at work. The effect of work schedules on health status of pregnant workers and pregnancy outcomes included: 1) significant differences of health practices between duration of work day, days off, and over time work, 2) significant relationship of kind of delivery with number of days away from work. This study indicates some relationship between working and the health status and pregnancy outcomes. It indicates some conditions which pregnant women should avoid. The employers and government should clearly formulate policy and strategies in terms of social welfare provided for pregnant workers in various factories especially regarding acceptable work schedulesen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น