กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/731
ชื่อเรื่อง: ความมีศักยภาพทางการตลาดและความเป็นผู้ประกอบการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : ศึกษากิจการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือแปรรูปจากสมุนไพรในเขตภาคตะวันออก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: ธุรกิจขนาดกลาง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
ธุรกิจขนาดย่อม - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - การตลาด - - วิจัย
ผู้ประกอบการ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพทางการตลาดและความเป็นผู้ประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises SMEs) : ศึกษากรณี ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรในเขตภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความมีศักยภาพทางการตลาด และความเป็นผู้ประกอบการของกิจการ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความมีศักยภาพทางการตลาด และความเป็นผู้ประกอบการของกิจการ SMEs ข้างต้น การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เลือกตัวอย่างจากประชากรคือ ผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจ ชุมชน ชมรม สมาคม กลุ่มต่าง ๆ ที่ผลิตและเพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรกระจายตามเขต 7 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และตราด ด้วยวิธีตามสะดวก จำนวน 42 กิจการ และใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยปรับปรุงจากแบบสอบถามต่างประเทศ และนำไปสอบถามด้วยตนเอง ได้รับความร่วมมือและตอบอย่างสมบูรณ์ 41 กิจการ คิดเป็นร้อยละ 98 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอ้างอิง โดยการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติที และเอฟ ณ ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปและการดำเนินกิจการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชลบุรี เป็นเจ้าของคนเดียว และเป็นเจ้าของเอง เป็นกิจการค้าปลีก ที่ดำเนินกิจการมา 3-5 ปี ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดย่อม (จำนวนพนักงานไม่เกิน 50 คน) และไม่มีทุนจดทะเบียน โดยเริ่มธุรกิจด้วยตนเองเป็นธุรกิจแรกที่เคยดำเนินกิจการ ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในธุรกิจมาก่อน และเคยได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ประกอบการ ผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี การศึกษาระกับปริญญาตรี และเป็นโสด 2. ผู้ประกอบการมีศักยภาพทางการตลาดสูง 5 ด้าน คือ มีจำนวนสาขาตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์/ บริการมีความทันสมัย ความรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า/ ตลาด มีการส่งมอบสินค้า/ บริการได้อย่างรวดเร็วและมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกและมีศักยภาพทางการตลาดเรียงลำดับมากถึงน้อย ดังนี้ ด้านลูกค้า ด้านคู่แข่ง ด้านความสามารถภายในกิจการ 3. ผู้ประกอบการมีลักษณะความเป็นผู้ประกอบการแต่ละด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ความสำเร็จในการริเริ่มและขยายธุรกิจ การรับรู้ การควบคุมตนเอง การริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในธุรกิจ มุมมองทางธุรกิจ การรับรู้ การยอมรับทางธุรกิจ การยอมรับความเสี่ยง/ ความไม่แน่นอนและความเป็นอิสระ 4. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสำคัญ .05 4.1 ความมีศักยภาพทางการตลาด ทั้ง 3 ด้านไม่แตกต่างกันตามปัจจัยของประชากร 4.2 ความมีศักยภาพทางกาาตลาดแตกต่างกันตามลักษณะของกิจการ ตำแหน่งในกิจการ ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการ ประเภทของกิจการ และทุนจดทะเบียน 4.3 ความมีศักยภาพทางการตลาดแตกต่างตามผลการประกอบการด้านยอดขายต่อไปและความพึงพอใจต่อการดำเนินธุรกิจ 4.4 ความเป็นผู้ประกอบการแตกต่างตามเพศและระดับการศึกษาสูงสุด 4.5 ความเป็นผู้ประกอบการบางด้านแตกต่างกันตามลักษณะของกิจการ ตำแหน่งในกิจการ ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการ การเริ่มธุรกิจเองและการประกอบธุรกิจครั้งแรก 4.6 ความเป็นผู้ประกอบการบางด้านแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงยอดขายและความพึงพอใจต่อการดำเนินธุรกิจ ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาควรมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพทางการตลาดด้านที่เป็นจุดอ่อน คือ ด้านความสามารถภายในกิจการเองที่เป็นปัจจัยในกิจการ ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านการประกอบการ คือ กำหนดเป้าหมายธุรกิจที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ตลอดจนสร้างความเข้าใจและทำให้ผู้ประกอบการสามารถยอมรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนโดยอาจอาศัยเกมจำลองธุรกิจที่เสมือนเครื่องมือนำทางให้ผู้ประกอบสามารถใช้ฝึกฝน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์ของศักยภาพทางการตลาด และความเป็นผู้ประกอบการ โดยจำแนกตามขนาดของวิสาหกิจ ประเภทของวิสาหกิจ ตลอดจนเพิ่มขนาดตัวอย่าง ขยายผลการศึกษาสู่พื้นที่อื่น ๆ รวมถึงศึกษาผลการประกอบการด้านผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มเติมตัวแปรด้านวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเจาะลึกศึกษาความมีศักยภาพทางการตลาด ความเป็นผู้ประกอบการแต่ละด้าน อีกทั้งใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงสถิติที่สุงขึ้น ได้แก่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความถดถอย รวมบูรณาการศึกษาด้านการจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งศึกษากลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันและมีแนวโน้มการขยายตัวในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/731
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น