กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/714
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคตะวันออก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรินทร์ พูลทวี
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
นิสากร กรุงไกรเพชร
วันดี โตรักษา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน
บริการสุขภาพในโรงเรียน
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและชุมชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคตะวันออก ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้แทนองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในชุมชน ประกอบด้วย 1) พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตัวแทนของครอบครัวของเด็กนักเรียน 2)ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็กนักเรียน 3)พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4)ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5)แกนนำชุมชน 6)ผู้แทนองค์กรอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มแม่บ้าน ประชาชน จากการสุ่มตัวอย่าง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว ทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดละ 1 ตำบล ที่มีพยาบาลวิชาชีพให้ความร่วมมือในการวิจัย มีโรงเรียนในพื้นที่ และยินดีร่วมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สุ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน และ 2 ชุมชน ทำการวิจัยโดยการจัดทำเวทีประชาคม การสะท้อนข้อมูลให้กับตัวแทนสถาบันต่างๆ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การทำกิจกรรม การสังเกต การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีให้ข้อมูลจากหลายแหล่งร่วมกัน (Triangulation method) และการสะท้อนข้อมูล (Reflection) ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ยืนยันความถูกต้อง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและในชุมชน องค์กรหลักที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ โรงเรียน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการดำเนินการด้านสุขภาพเด็กวัยเรียนผ่านทางกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ การจัดการสุขภาพที่พบ ได้แก่ การจัดการด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก สุขภาพอนามัยของเด็กในโรงเรียน และการแพร่ระบาดของสารเสพย์ติด 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนาโดยนัดประชุมผู้นำชุมชนเพื่อทราบปัญหา หรือสถานการณ์สุขภาพของชุมชนที่ได้จากการทำประชาคมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนองค์กร, ร่วมกันวิเคราะสาเหตุกำหนดแนวทางแก้ไข, ร่วมกันกำหนดการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาตามโดยกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ, การดำเนินกิจกรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและทำการประเมินผล เมื่อเกิดกระบวนการพัฒนาทำให้ชุมชนเรียนรู้จักการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยชุมชนและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/714
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_139.pdf5.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น