กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/697
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาวัดบางพระวรวิหาร ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potentiality development of culture-tourism one tambon one product : case study bangpravaravihan temple in Tambon Bangpra, amphur Sriracha, Chounburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีระพงษ์ ภูริปาณิก
สกฤติ อิสริยานนท์
อภิวัฒน์ ห่อเพชร
สุรีย์พร ปั้นเปล่ง
ศิริพร รูปเล็ก
ชลธิชา แป้นจันทร์
สถาบันสังคมและสิ่งแวดล้อมศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว - - แง่เศรษฐกิจ - - ไทย - - วิจัย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม - - ไทย - - วิจัย
วัฒนธรรม - - วิจัย
สาขาสังคมวิทยา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว - - ไทย - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษา วัดบางพระวรวิหาร ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงผสมระหว่างเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณ ในลักษณะที่เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของวัดบางพระวรวิหาร ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา เพื่อค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง ของวัดบางพระวรวิหาร ในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยววัดบางพระวรวิหาร ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของวัดบางพระวรวิหาร ต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า วัดบางพระวรวิหาร มีจุดแข็งในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนี้คือ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือของคนในท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ หลวงปู่ฉิ่ง หลวงปู่บู๊ และหลางปู่กัง, มีมณฑปที่ประดิษฐานลอยพระพุทธบาทจำลอง สำหรับไว้เป็นที่นมัสการบำเพ็ญการกุศลทางพระพุทธศาสนา, มีพระอุโบสถ พระเจดีย์ และกุฎีที่เก่าแก่และสวยงาม, มีพระนอนขนาดใหญ่ที่สวยงาม, มีพระอารามหลวงที่เก่าแก่ของ จ. ชลบุรี, มีการคมนาคมสะดวกอยู่ใกล้ชุมชน, มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและบรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การท่องเที่ยว, มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมและมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว, มีแหล่งท่องเที่ยวครบถ้วนและหลากหลายทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวนภาคตะวันออก, จังหวัดชลบุรีมีโรงแรม มีที่พักระดับต่าง ๆ ให้เลือก มีอัตราราคาที่พักเหมาะสมกับคุณภาพ สะอาดและมีการบริการตามมาตรฐานสากลที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้, ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างเข้มแข็ง, เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่ยั่งยืน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพที่สามารถรองรับการพัฒนาได้ทุกภารกิจ และประชาชนในท้องถิ่นมีความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลให้มีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี โบราณสถาน โบราณวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ภายในวัด วัดบางพระวรวิหาร มีจุดอ่อนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนี้คือ โบราณสถาน และโบราณวัตถุขาดการบูรณะอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นพระอารามหลวง การบูรณะแต่ละครั้ง จึงมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน และล่าช้า ทำให้ไม่มีสิ่งดึงดูดความสนใจ, เส้นทางคมนาคมและสถานที่จอดรถภายในวัดคับแคบไม่สะดวกสบาย, วัดขาดการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว เช่น เอกสารแผ่นพับ ป้ายประกาศ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น เนื่องจากระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศยังไม่ครอบคลุมและขาดประสิทธิภาพ, สถานที่บริเวณรอบ ๆ วัดไม่สะอาด มีขยะมูลฝอย มูลสัตว์ เป็นต้น, ระบบดโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชนทั้งถนน ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์, มีแรงงานอพยพที่เคลื่อนย้ายเข้ามาเป็นประชากรแฝงในพื้นที่จำนวนมาก จึงก่อให้เกิดปัญหาสังคมและอาชญากรรมในชุมชน เช่น ปัญหาโรคติดต่อ ปัญหายาเสพติด รวมทั้งปัญหามิจฉาชีพ ทำให้ของสูญหาย และโบราณสถาน/ โบราณวัตถุถูกขโมย, ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขาดการรวมตัวที่เข้มแแข็งขาดมาตรฐานการบริการ ขาดการบริหารจัดการพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม, ขาดความตระหนักถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาครัฐขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการส่งเสริมที่ดีในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ระบบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน และของวัดขาดการเชื่อมโยง ไม่ทันสมัย และขาดแคลนบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่มีความรู้ความสามารถเชิงวัฒนธรรม หรือเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัด และชุมชนขาดการส่งเสริมการใช้วัสดุพื้นบ้าน เพื่อทำหรือออกแบบสินค้าของที่ระลึกที่มีเอกลักษณ์ประจำถิ่น วัดบางพระวรวิหาร มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนี้คือ วัดบางพระวรวิหารมีสถาปัตยกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เก่าแก่ทรงคุณค่า จึงมีโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การปลูกฝังด้านจริยธรรม จิตสำนึกของเยาวชนไทยเริ่มดีขึ้น ทำให้เยาวชนหันมาท่องเที่ยว เยี่ยมชมสถาปัตยกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในวัดมาก โดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนา หรืองานประจำปีที่วัดจัดขึ้น, เนื่องจากในกลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนกลาง เป็นที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ สู่ระดับนานาชาติ, กระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยวด้านประเพณีและวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว การศึกษาวิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น, ประชากรโลกสนใจการท่องเที่ยวธรรมาชติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สุขภาพมากขึ้น จึงมีโอกาสพัฒนาการท่องเที่ยวสู่จุดดังกล่าวได้, นโยบายรัฐบาลในด้านการท่องเที่ยวยังเอื้อค่าการพัฒนาและการแข่งขันในภูมิภาคตะวันออก, นโยบายสนามบินสุวรรณภูมิเป็นโอกาสด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศที่ต้นทุนต่ำลง, เนื่องจากจังหวัดชลบุรีเป็นเมืองใหญ่จึงสามารถพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เจริญก้าวหน้าได้, นโยบายของรัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาจังหวัด (โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก), การเมืองระดับชาติมีเสถียรภาพ และนักการเมืองชลบุรีมีโอกาสร่วมรัฐบาลทุกยุคสมัย, นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมาลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดชลบุรีมีการเชื่อมโยงการคมนาคมเป็นเครือข่ายจากภายนอกเข้าสู่จังหวัดทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทำให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว และวัดบางพระวรวิหาร มีภัยคุกคามในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนี้คือ การพัฒนาเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด-ล้อม และคุณภาพชีวิตซึ่งไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับคืนมาดังเดิมได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, ปัญหากฎระเบียบไม่เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, ปัญหาอุบัติภัย อาชญากรรม และยาเสพติด ทำให้นักลงทุนและนักท่องเที่ยวขาดความมั่นใจในความปลอดภัยในพื้นที่, จังหวัดต่าง ๆ มีแนวโน้มในการแข่งขันด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสูง หากจังหวัดชลบุรีไม่ได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการที่ดีอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ไม่สามรถชิงความได้เปรียบเหนือจังหวัดอื่นได้, การพัฒนาอารามหลวงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีอุปสรรคด้านกฎหมายที่เก่าแก่จึงมีข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ, ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ยังขาดการจัดตั้งงบประมาณภายใต้ยุทธศาสตร์ของตนเอง และการตั้งงบประมาณของส่วนราชการต่างๆยังเป็นแบบเดิมๆ ขาดการบูรณาการกับยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง, ศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชองประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกสูงขึ้น, การหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ (พัทยา) ก่อปัญหาความมั่นคงปลอดภัยทำให้นักท่องเที่ยวลดลง, สภาวะเศรษฐกิจของโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดชลบุรี, ปัญหาทัวร์ที่เสนอขายบริการนำเที่ยวต่อนักท่องเที่ยวยังไม่ซื่อสัตย์กับนักท่องเที่ยวเพียงพอ เช่น เมื่อตกลงกันได้ก็จะให้นักท่องเที่ยวจ่ายเงินสดและออกใบรับให้นักท่องเที่ยวถือไว้โดยนัดกันว่าจะไปรับที่ไหนเมื่อไหร่ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่ไปรับตามที่นัดกันไว้ หรือบริการนำเที่ยวไม่ครบตามที่ตกลงกันไว้ เป็นต้น, ปัญหาโสเภณีในจังหวัดชลบุรี (พัทยา) ทำให้เสียภาพพจน์ของจังหวัดในแง่ การทารุณ หรือการจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลในด้านการกักขังการให้บริการแขก นักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่รักสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลรู้สึกรังเกียจและต่อต้าน ทำให้นักท่องเที่ยวลดจำนวนลง และการวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวจากหน่วยงานราชการ ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถนำมาสู่การปฏิบัติได้อย่างจริงจัง ดังนั้นการเติบโตของการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี หรือประเทศไทย จึงมีลักษณะไร้ทิศทาง ขาดความเหมาะสมจึงก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เป็นต้น จากการศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยววัดบางพระวรวิหาร ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นเพศหญิงมากที่สุด ร้องละ 63.0 และเป็นเพศชายร้อยละ 37.0 มีอายุอยู่ระหว่าง 20-29 ปี มากที่สุด ร้อยละ 26.5 รองลงมาคือ มีอายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 20.7 มีอายุอยู่ระหว่าง40-49 ปี ร้อยละ 16.3 มีอายุน้อยกว่า 20 ปีร้อยละ 13.5 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 13.5 และมีอายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 9.50 ตามลำดับ มีสถานภาพสมรส มากที่สุด ร้อยละ 50.4 รองลงมาคือ มีสถานภาพโสด ร้อยละ 39.3 มีสถานะภาพหม้าย ร้อยละ 4.7 มีสถาน-ภาพหย่าร้าง ร้อยละ 3.3 และมีสถานภาพแยกกันอยู่ ร้อยละ 2.3 ตามลำดับ มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 26.5 รองลงมาคือ มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา-ปวช. ร้อยละ 22.7 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.5 มีการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 15.5 ไม่มีการศึกษา ร้อยละ 12.0 และมีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 2.8 ตามลำดับ ประกอบอาชีพนักธุรกิจ/ลูกจ้างเอกชน มากที่สุด ร้อยละ 28.7 รองลงมาคือ ประกอบอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 20.3 ประกอบอาชีพพ่อค้า/แม่ค้า ร้อยละ 17.0 ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.5 ประกอบอาชีพเกษตรกร/รับจ้าง/กรรมกร ร้อยละ 9.2 ประกอบอาชีพแม่บ้าน/ทำงานบ้าน ร้อยละ 7.3 และไม่มีงานทำ ร้อยละ 2.0 ตามลำดับ มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดชลบุรี มากที่สุดร้อยละ 65.4 รองลงมาคือ มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกรุงเทพฯ ร้อยละ 6.4 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทรา ร้อยละ4.0 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยละ 2.5 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดระยองและจันทะบุรี ร้อยละ 18 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอุทัยธานีและนครศรีธรรมราช ร้อยละ 1.3 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสมุทรปราการ,สุพรรณบุรี,กำแพงเพชร และชัยภูมิ ร้อยละ 1.0 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดปราจีนบุรี,ระนอง,ขอนแก่น,ศรีสะเกษ,นครราชสีมา,พิจิตร,นครพนม,สุรินทร์และเชียงใหม่ ร้อยละ 0.8 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น่าน ชุมพร ยโสธร พิษณุโลก พะเยา ราชบุรี ตาก และอยุธยา ร้อยละ 0.5 และมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสกลนคร ร้อยละ 0.3 ตามลำดับ นักท่องเที่ยวเคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารมากที่สุด ร้อยละ 90.0 และไม่เคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารมาก่อน ร้อยละ 10.0 นักท่องเที่ยวที่ เคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารจำนวน มากกว่า 10 ครั้ง มากที่สุด ร้อยละ 33.3รองลงมาคือ เคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารจำนวน 5-6 ครั้ง ร้อยละ 20.8 เคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารจำนวน 3-4 ครั้งร้อยละ 17.0เคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารจำนวน 9-10 ครั้ง ร้อยละ 14.7 เคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารจำนวน 1-2 ครั้ง ร้อยละ 7.5 และเคยมาเที่ยววัดบางพระวรวิหารจำนวน 7-8 ครั้ง ร้อยละ 6.7 ตามลำดับมีวัตถุประสงค์ของการมาเที่ยว เพื่อนมัสการ/ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มากที่สุด ร้อยละ 47.0 รองลงมาคือ มีวัตถุประสงค์มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพื่อเที่ยวงานประจำปี ร้อยละ 15.8 มีวัตถุประสงค์มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพื่อแก้บน/สะเดาะเคราะห์ ร้อยละ 7.5 และมีวัตถุประสงค์มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพื่ออื่นๆ เช่น มาทำบุญตักบาตรในวันพระ มาพักผ่อนหย่อนใจเพื่อรักษาศีล มาช่วยกิจกรรมต่างๆ ถายในวัดเป็นต้น ร้อยละ 2.2 ตามลำดับ และมีวัตถุประสงค์มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพราะมีรูปเหมือนของหลวงปู่ฉิ่ง บู๊ กัง ดึงดูดให้มาท่องเที่ยว มากที่สุด ร้อยละ 60.8 รองลงมาคือ มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพราะมีพระพุทธบาทจำลองดึงดูดใจให้มาท่องเที่ยว ร้อยละ 20.3 มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพราะมีพระอุโบสถดึงดูดใจให้มาท่องเที่ยว ร้อยละ 15.3 มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพราะมีพระเจดีย์ดึงดูดใจให้มาท่องเที่ยว ร้อยละ 1.8 มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพราะมีกุฏิทรงไทย/ทรงมนิลาโบราณดึงดูดใจให้มาท่องเที่ยว ร้อยละ 1.3 และมาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหารเพราะมีพระนอนขนาดใหญ่ดึงดูดใจให้มาท่องเที่ยว ร้อยละ 0.5 ตามลำดับ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยววัดบางพระวรวิหาร คิดว่าจุดเด่นของวัดบางพระวรวิหารที่เหมาะแก่การมาท่องเที่ยว มากที่สุด ได้แก่ การมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ(หลวงปู่ฉิ่ง บู๊ กัง) ร้อยละ 84.8 รองลงมา คือ มีรอยพระพุทธะบาทจำลอง ร้อยละ 44.0 การคมนาคมสะดวกอยู่ใกล้ชุมชน ร้อยละ 24.0 เป็นพระอารามหลวงที่เก่าแก่ของ จ.ชลบุรี ร้อยละ 20.5 บรรยากาศร่มรื่น มีต้นไม้มากมาย ร้อยละ 13.8 มีพระอุโบสถ พระเจดีย์ และกุฏิที่เก่าแก่และสวยงาม ร้อยละ 11.8 และมีพระนอนที่ขนาดใหญ่ที่สวยงาม ร้อยละ 7.5 ตามลำดับ และคิดว่าจุดด้อยของวัดบางพระวรวิหารที่ไม่เหมาะสม มากที่สุด ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว เช่น การทำป้ายแนะนำสถานที่ การลงอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ร้อยละ 53.8 รองลงมาคือ ขาดการบูรณะโบราณสถาน/โบราณวัตถุ ร้อยละ 44.0 สถานที่บริเวณรอบๆ วัดไม่สะอาด ร้อยละ 24.0 มีมิจฉาชีพทำให้ของสูญหาย และโบราณสถาน/โบราณวัตถุถูกขโมย ร้อยละ 21.5 เส้นทางคมนาคมและสถานที่จอดรถคับแบไม่สะดวกสบาย ร้อยละ 16.0 สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา มีไม่เพียงพอ ร้อยละ 12.5 และต้นไม้ไม่มีผู้ดูแลรักษา ทำให้ขาดความร่มรื่นบริเวณรอบๆวัด ร้องละ 11.0 ตามลำดับ สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพของวัดบางพระวรวิหาร ต่อการพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีดังนี้คือหน่วยงายที่รับผิดชอบในการบูรณะโบราณสถานและโบราณวัตถุ ในเขตพระอารามหลวง ควรมีการสำรวจและบูรณะอย่างสม่ำเสมอ ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อนในการทำงาน ซึ่งจะทำให้วัดบางพระวรวิหารกลับมาดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวอีกครั้ง, เส้นทางคมนาคมและสถานที่จอดรถภายในวัดควรมีการขยาย ปรับปรุงอย่างจริงจังจาก ประชาชน องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นหรือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต, วัดบางะรัวรวิหารควรมีการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวให้มากขึ้น เช่น เอกสาร แผ่นพับ ป้ายประกาศอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลงานประจำปี หรืองานสำคัญทางศาสนา เป็นต้น, สถานที่บริเวณรอบๆ วัดควรดูแลเรื่องความสะอาดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เพิ่มจำนวนถุงขยะ การนำเจ้าหน้าที่มาทำความสะอาดประจำ หรือการประสานงานให้ประชาชนในท้องถิ่นหรือนักท่องเที่ยวช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ภายในบริเวณรอบๆวัด เป็นต้น, การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในด้านการก่อสร้างการขยายถนน การติดตั้งไฟฟ้าตามทางเดิน การจัดระบบน้ำประปา และการติดตั้งตู้โทรศัพท์ภายในวัดเป็นต้น, ประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองความมีการสอดส่องดูแลพวกมิจฉาชีพที่สร้างปัญหาสังคมและอาชญากรรมในชุมชน เช่น ปัญหาโรคติดต่อ ปัญหายาเสพติด รวมทั้งการลักขโมยโบราณสถาน/โบราณวัตถุ, ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและอุสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรีควรมีการรวมตัวที่เข้มแข็ง และได้มาตรฐานการบริการมากกว่านี้ โดยการนำการบริหารจัดการแบบชุมชนมีส่วนร่วมมาใช้ในพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม, ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีความตระหนักถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาครัฐ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการส่งเสริมที่ดีในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ควรนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน และของวัด, หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความรู้ ความสามารถในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หรือเกี่ยวกับประวัตศาสตร์ความเป็นมาของวัด, ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ควรมีการจัดตั้งงบประมาณภายใต้ยุทธศาสตร์ของจังหวัดในด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจังและยั่งยืน, เจ้าหน้าที่และประชาชนในท้องถิ่นควรมีการสอดส่องดูแลการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ (พัทยา) ก่อนที่จะสร้างปัญหาความมั่นคงปลอดภัยภายในจังหวัด, ควรมีการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับจังหวัดชลบุรี โดยดารส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการลดภาพพจน์ด้านปัญหา โสเภณีในจังหวัดชลบุรี (พัทยา) และหน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวควรมีการประชุมปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องในด้านการวางแผนและการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยสามารถนำแผนที่วางไว้มาสู่การปฏิบัติได้อย่างจริงจังเพื่อเป็นการวางทิศทางการท่องเที่ยวให้เหมาะสม และแก้ปัญหาหรือผลกระทบต่างๆ ที่ตามมาจากการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เป็นต้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/697
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น