กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/670
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorไพฑูรย์ โพธิสว่างth
dc.contributor.authorโกวิท กระจ่างth
dc.contributor.authorวัลลภ ศัพท์พันธุ์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:00Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:00Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/670
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ที่มาและการก่อเกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น ฐานความคิด เหตุผลความจำเป็น ความรู้ ความชำนาญและทักษะในการผลิตสินค้าชุมชน "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" รวมตลอดจนวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาไปสู่อนุชนรุ่นหลัง โดยใช้วิธีศึกษาในเชิงคุณภาพ เจาะลึก 9 ภูมิปัญญาจาก 9 จังหวัด ซึ่งผลของการศึกษาโดยสรุปเป็นดังนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตสินค้าชุมชน เป็นองค์ความรู้หรือความรู้ ความชำนาญในการผลิตสินค้าที่เกิดจากการคิดค้น ทดลอง ลองผิดลองถูกและสั่งสมความรู้เพิ่มขึ้นจากบุคคลไปสู่ครอบครัวและชุมชน มีกระบวนการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตสินค้าชุมชนที่มาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งมีพื้นฐานสืบทอดมาจากบรรพบุรษ ได้แก่ ภูมิปัญญาการทำขนมกระยาสารทจังหวัดปราจีนบุรี ภูมิปัญญาการทำเสื้อกกจังหวัดจันทบุรี ภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่จังหวัดชลบุรี ภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์จากปลากะตักจังหวัดตราด และภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิคจังหวัดสระแก้ว อีกส่วนหนึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีที่มาและการก่อเกิดมาจากประสบการณ์ใหม่ในชุมชนเพื่อใช้แก้ไขปัญหาของตนเอง ได้แก่ ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ไผ่จังหวัดนครนายก ภูมิปัญญาการทำทองเหลืองสานจังหวัดฉะเชิงเทรา ภูมิปัญญาการทำทุเรียนทอดกรอบจังหวัดระยอง ภูมิปัญญาการทำปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ และภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์จากปลากระตักจังหวัดตราด ซึ่งทั้งสองส่วนนี้อาจผสมผสานกันหรือผสมผสานกับความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการอบรมเพิ่มเติม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตสินค้าชุมชนมีฐานความคิดและเหตุผลความจำเป็นในการเกิด การดำรงอยู่และการพัฒนา มาจาก 3 ส่วน คือส่วนที่หนึ่งมาจากการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ภูมิปัญญาการทำขนมกระยาสารท ภูมิปัญญาการทำเสื่อกก ภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่ และภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่หุ้มเซรามิค ส่วนที่สองมาจากการพยายามใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น ได้แก่ ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ไผ่ ภูมิปัญญาการทำทองเหลืองสาน ภูมิปัญญาการทำทุเรียนทอดกรอบ ภูมิปัญญาการทำเสื่อกก ภูมิปัญญาการทำปลาสลิด และภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์จากปลากระตัก ส่วนที่สามมาจากการพยายามสร้างงานและสรางรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนซึ่งเป็นฐานความคิดที่ทุกภูมิปัญญาทั้ง 9 ภูมิปัญญายึดถือ อาจกล่าวได้ว่าภูมิปัญญาการผลิตสินค้าชุมชนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์มีฐานความคิดมาจากการสรางแรงงานและสรางรายได้เป็นหลักเพราะมุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้าชุมชนสู่ตลาดเมืองและตลาดโลก ภูมิปัญญาทั้ง 9 ภูมิปัญญามีกระบวนการถ่ายทอดและสืบต่อกันมาโดยการเล่าเรื่อง พาทำ ฝึกทำ และเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากครอบครัวและชุมชนซึ่งเป็นวิธีการถ่ายทอดที่ได้ผลเนื่องจากภูมิปัญญาส่วนใหญ่เป็นงานฝีมือและงานที่ทำด้วยมือ ผู้ที่จะทำได้ต้องมีใจรัก มีความเพียรพยายาม อดทนสูงและต้องใช้เวลายาวนาน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้มีภูมิปัญญาบางอย่างที่ใช้วิธีการถ่ายทอด โดยการฝึกอบรมแบเป็นทางการเข้าร่วมผสมผสานด้วย This research aimed to study history, sources and the formation of local wisdoms, needs, and knowledge in producing nine OTOPs in nine provinces in east coast central region, as well as the ways to pass on these wisdoms to younger generations. The research revealed two sources of skills in making community products: The first source includes traditional skills that have passed on from the ancestors-this source included the skills in making Krayasart (rice cooked in mixture of ingredients and honey used in a tenth lunar month festival) in Prachinburi, mat-making from reeds in Chantaburi, bamboo weaving in Chonburi, anchovy processing in Trat, and weaving bamboo on ceramic products in Sakeow. The other source included the skills newly initiated to solve the pressing problems-these skills included bamboo carving in Nakorn Nayok, weaving brass-thread in Chacheonssao, durian chip making, salid fish (snakeskin gourami) processing, and anchovy processing in Trat. These two sources of wisdoms may have been combined with one another other, or combined with new skills received from additional trainings. The three factors contributed for the existences and development of these local wisdoms in the nine OTOP skills. The first one was the preservation and transfer of the local cultural identily-this factor explained the skills in cooking Krayasart (rice cooked in mixture of ingredients and honey used in a tenth lunar month festival), mat-making from reeds, bamboo weaving, and weaving bamboo on ceramic products. The second factor was the use of local natural resources and their value addition, which stimulated bamboo carving, weaving brass-thread, durian chip making, mat-making from reeds, salid fish (snakesin gourami) processing, and anchovy processing. The third factor was job creation and income supplementation for families and communities, which has contributed to all skills in making the nine OTOPs. It could be said that the wisdoms or skills to make OTOPs are primarily initiated from the need to create jobs, and supplement income. These products target urban and global markets. All nine OTOP skills are continued and transferred from family and community members to young apprentices "Learning by Doing" As most of them are the skill in making handicraft, it requires which requires personal interest, perseverance, and endurance. However, in the present times, some skills are also taught and trained in formal settings.th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มหาวิทยาลัยบูรพาและสถาบันเครือข่ายในภาคกลางฝั่งตะวันออกen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectธุรกิจชุมชนth_TH
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ไทย (ภาคกลางฝั่งตะวันออก)th_TH
dc.subjectหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ - - ไทย (ภาคกลางฝั่งตะวันออก)th_TH
dc.subjectสินค้าไทยth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตสินค้าชุมชน "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ในภาคกลางฝั่งตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeStudy of local wisdom for making community products one tambon one product (OTOP) in east coast central regionen
dc.typeResearch
dc.year2548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น