กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/606
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The impact of traumatic brain injury on patients and families
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิภาวรรณ สามารถกิจ
สุภาภรณ์ ด้วงแพง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: คนพิการ - - ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ผู้ป่วย - - สุขภาพจิต
สมอง - - บาดแผลและบาดเจ็บ
สมอง - - ศัลยกรรม - - ผู้ป่วย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การบาดเจ็บที่สมอง นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพและส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยระยะยาวที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ป่วยด้วย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองและครอบครัว ที่มารับบริการตรวจรักษาพยาบาลที่แผนกผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา และโรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี จำนวน 140 คู่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างเกี่ยวกับผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองที่มีต่อผู้ป่วย และแบบวัดผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองที่มีต่อครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่และร้อยละของข้อมูลทั่วไป หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว โดยการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองที่มีความแตกต่างกันในเรื่อง เพศ อายุ ระดับ การศึกษา รายได้ครอบครัวต่อเดือน และระยะเวลาของการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุของผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยคะแนน ผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองที่มีระดับความพิการแตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และเมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Sheffe’s test) พบว่า ผู้ป่วยที่มีระดับตวามพิการปานกลางมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลกระทบของการบาดเจ็บที่สมองแตกต่างจาก ผู้ป่วยที่ไม่มีความพิการ และผู้ป่วยที่มีระดับความพิการน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05, และ .01) ตามลำดับ ผู้ป่วยที่มีระดับความพิการมาก และผู้ป่วยที่มีความพิการไม่รู้สติ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/606
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2544_010.pdf2.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น