กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/599
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorมานพ แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:52:00Z
dc.date.available2019-03-25T08:52:00Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/599
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ทำพื้นผิวจานรับสัญญาณดาวเทียมย่านความถี่ Ku-band ของดาวเทียมไทยคม ที่ใช้ทดแทนจานรับสัญญาณที่ทำจากบริษัทผู้ผลิต และเพื่อศึกษาความไวในการรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียม (Signal Sensitivity) ที่ใช้วัสดุต่างชนิดกันมาทำพื้นผิวของจานรับสัญญาณ เทียบกับความไวในการรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมที่ใช้จานรับสัญญาณของบริษัท UBC วัสดุที่เลือกมาทำผิวจานรับสัญญาณใช้วัสดุที่หาได้ง่าย ราคาถูก และเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ที 3 ชนิดคือ 1. เศษแผ่นอะลูมิเนียมซองผลิตภัณฑ์อาหาร 2. แผ่นอะลูมิเนียม ฟอยล์ และ 3. ตะแกรงมุ้งลวดโลหะ นำจานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีพื้นผิวของจานรับทำด้วยวัสดุทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวไปติดตั้งเพื่อทำการทดลองที่กันสาดชั้น 4 ของอาคาร 60 พรรษามหาราชินี 1 มหาวิทยาลัยบูรพา เริ่มทดลองและเก็บบันทึกข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2544 ผลของการทดลองสรุปได้ดังนี้ วัสดุที่ใช้ทำพื้นผิวของจานรับสัญญาณดาวเทียมทั้ง 3 ชนิด สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมไทยคมได้เป็นอย่างดี โดยภาพและเสียงที่ปรากฎในเครื่องรับโทรทัศน์ชัดเจนดีมากทุกช่องสถานี เหมือนกับการใช้จานรับสัญญาณของบริษัท UBC สถานีที่ทำการทดลองรับสัญญาณ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่องการศึกษา (DLTV) 6 ช่อง ช่องสถานี ETV และช่องสถานี TGN ส่วนความไวในการรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียม ใช้เครื่องรับและถอดรหัสสัญญาณดาวเทียม (IRD) ของบริษัท HYUNDAI DIGTAL TECHNOLOGY รุ่น HSS-700 เครื่องรับและถอดรหัสสัญญาณดาวเทียมรุ่นนี้ มีสเกลการวัดเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยมีค่าความไวในการรับสัญญาณอยู่ระหว่าง 0-100% จากการทดลองพบว่า 1. จานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีพื้นผิวของจานรับสัญญาณทำด้วยเศษแผ่นอะลูมิเนียมซองผลิตภัณฑ์อาหาร มีค่าความไวในการรับสัญญาณเฉลี่ยเท่ากับ 77.39% 2.จานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีพื้นผิวของจานรับสัญญาณทำด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ มีค่าความไวในการรับสัญญาณเฉลี่ยเท่ากับ 86.79% และ 3. จานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีพื้นผิวของจานรับทำด้วยตะแกรงมุ้งลวดโลหะ มีค่าความไวในการรับสัญญาณเฉลี่ยเท่ากับ 70.82% ส่วนจานรับสัญญาณดาวเทียมของบริษัท UBC มีค่าความไวในการรับสัญญาณเฉลี่ยเท่ากับ 96.46% The purpose og this research was to find the appropriate materials to be used as the surface of satellite antennae dish for the Ku-band of Thaicom. The study will find the efficiency of the satellite television signal receiving of each material, the result of which will be compared with the signal receiving of the factory satellite dish. Three kinds of materials chosen to make the surface of the satellite dishes were : 1. aluminum foil food package 2. aluminum foil sheet and 3. metal mosquito screen. These three satellite antennae dishes were installed at the 4 th floor of the Hoksibphansa Maha Rajinee I Building. The experiment began and data recorded from october 2000 to March 2001. The data was analyzed and the outcomes were compared with that of the UBC satellite data recorded simultaneously. The result as follows: Three kind of materials to be used as the surface of the antennae dish and the factory satellite dish of the UBC in receiving the Thaicome television signals for all channels: DLTV, ETV, and TGN were clear both the pictures and the sounds. The receptive capacity by the Integrated Receiver Decoder: of Hyundai Digital Technology- HSS-700 television set was :1 The signal sensitivity of the satellite television signal receiving of the aluminum foil food package was 77.39% and 2. That of the satellite dish of the aluminum foil sheet was 86.79% and 3. That of the satellite dish of the metal mosquito screen was 70.82%. For the signal sensitivity of satellite dish of the UBC in receiving the signal was 96.46%th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectจานรับสัญญาณดาวเทียมth_TH
dc.subjectดาวเทียมth_TH
dc.subjectดาวเทียมในโทรคมนาคม - - ไทยth_TH
dc.subjectสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยth_TH
dc.subjectไทยคมth_TH
dc.titleศึกษาวัสดุภายในประเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ทำผิวจานรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมย่านความถี่ Ku-bandth_TH
dc.title.alternativeThe study of the appropriate materials in Thailand to be used as the surface of the Ku-band satellite antennae dishen
dc.typeResearch
dc.year2545
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_260.pdf8.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น