กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/589
ชื่อเรื่อง: การระบาดของหนอนตัวแบนปรสิตในหอยแมลงภู่จากแปลงเลี้ยงในจังหวัดชลบุรีและการกำจัดหนอนจากลูกหอยแบบพวงที่ขายเชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Epidermiology and treatment of parasitic flatworm infestation in marketed green mussel (Perna viridis Linnaeus) from sea-farms in Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาศิริ บาร์เนท
คเชนทร เฉลิมวัฒน์
ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์
อาดูลย์ มีพูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หนอนพยาธิ
หอยแมลงภู่ - - การเลี้ยง - - ชลบุรี
หอยแมลงภู่ - - การเลี้ยง - - สมุทรปราการ
หอยแมลงภู่ - - ปรสิต - - การควบคุม
หอยแมลงภู่ - - ปรสิต
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การสำรวจความชุกของหนอนตัวแบนปรสิตและการเจริญเติบโตของหอยแมลงภู่ในแปลงเลี้ยงแบบไม้ไผ่ ตามชายฝั่งจังหวัดชลบุรีที่บางทราย อำเภอเมืองชลบุรี อ่างศิลา และที่คลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ และการเลี้ยงแบบแพแขวนพวงหอยที่ บางพระ ศรีราชา และแหลมท้าวเทวา ผลการศึกษาปี พ.ศ. 2553 พบว่า หนอนตัวแบนมีการระบาดจากการเลี่้ยงแบบแพมากกว่าแบบไม้ไผ่ ทั้งนี้หนอนจะอาศัยในหอยขนาดใหญ่ที่ยังไม่เก็บขายจากแพและจะแพร่กระจายไปยังพวงหอยรุ่นขนาดเล็ก โดยหอยตัวใหญ่พบหนอนในช่วงเดือนธันวาคม 2552 (ปริมาณหนอนประมาณ 50-400 ตัวต่อหอยแมลงภู่ 30 ตัว) และไปก่อการระบาดในหอยรุ่นเล็กในชาวงเดือนมกราคม 2553 (ปริมาณหนอนประมาณ 50-300 ตัวต่อหอยแมลงภู่ 30 ตัว) เดือนกุมภาพันธ์ (ปริมาณหนอนประมาณ 50-700 ตัวต่อหอยแมลงภู่ 30 ตัว) เดือนมีนาคม 2553 (ปริมาณหนอนประมาณ 200-1200 ตัวต่อหอยแมลงภู่ 30 ตัว) และสัมพันธ์กับความเค็มที่สูงและอุณหภูมิที่สูง การระบาดในเดือนเมษายนมีน้อยมาก และไม่พบการระบาดจนถึงจับขายในเดือนกันยายน การเจริญเติบโตของหอยแมลงภู่ดีที่สุดคือ ที่แหลมท้าวเทวาคล้ายกับที่ศรีราชาและบางพระ แต่มีการระบาดของหนอนรุนแรง โดยค่าดัชนีสุขภาพเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อหอยแมลงภู่ต่อน้ำหนักหอย ทั้งหมดมีค่าสูงกว่า 25.0% แต่ที่คลองด่าน และอ่างศิลา และหอยมีการเจริญเติบโตไม่ดี คือ ที่บางทรายและอำเภอเมืองชลบุรี โดยค่าดัชนีสุขภาพเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อหอยแมลงภู่ต่อน้ำหนักหอยทั้งหมดมีค่าต่ำกว่า 25.0% พบอัตราการตายสูงสุดของหอยตัวเป็นและตัวตายในแต่ละพวงหอยในช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน 2553 มีค่าการต่าย 0% ไปจนถึง 23.0% และหอยแมลงภู่มีอัตราการตายสุงมากในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2553 ประมาณ 14.9-60.5% ผลการตรวจค่าคุณภาพน้ำทะเลมีค่าละลายออกซิเจน ค่าความเป้นกรดเป้นด่าง อถณหภูมิน้ำ ทุกค่าส่วนใหญ่ได้มาตรฐานการเจริญเติบโตของหอยแมลงภู่ทั้ง 7 สถานี การศึกษาในครั้งนี้บ่งชี้ควรหาแนวทางแก้ไขในบางช่วงเวลาต่อการระบาดของหนอนตัวแบนในฟาร์มหอยแมลงภู่เลี้ยงแบบแขวน ผลการศึกษาปี พ.ศ. 2554 พบว่า หนอนตัวแบนมีการระบาดน้อยจากการเลี้ยงทั้งแบบแพแขวนและแบบไม้ไผ่ ซึ่งน้อยกว่าปี พ.ศ. 2553 ความชุกของหนอนตัวแบนพบได้ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมเท่านั้น โดยปริมาณหนอนตัวแบน โดยสถานีอ่างศิลาพบจำนวนหนอนตัวแบนในหอยแมลงภู่มากที่สุดคือ 57+- 10 ตัว ต่อหอย 30 ตัว และ 124 +- 24 ตัว ตามลำดับ รองลงมาคือที่ สถานีบางพระพบจำนวนหนอนตัวแบนในหอยแมลงภู่ 20 ต่อหอย 30 ตัว ในเดือนเมษายนเท่านั้น และสถานีทั้ง 6 แห่งพบจำนวนหนอนตัวแบนในหอยแมลงภู่ต่ำกว่า 20 ต่อหอย 30 ตัว หอยแมลงภู่ในปีพ.ศ. 2554 มีการเจริญเติบโตดีกว่าปีพ.ศ. 2553 เพราะสามารถหาค่าดัชนีสุขภาพเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อหอยแมลงภู่ต่อน้ำหนักหอยทั้งหมดมีค่าสูงกว่า 25.0% เกือบทุกสถานี ตั้งแต่เดือนมกราคม และอัตราการตายของหอยเฉลี่ยประมาณ 5-10% ทั้งการเลี่ยงแบบพวงและไม้ไผ่ ผลการทดลองการกำจัดหนอนตัวแบนในพวงหอยขนาด 2-3 เซ็นติเมตร ด้วยความเค็มที่ต่ำลงแขวนพวงหอยเลี้ยงในถังไฟเบอร์ที่มีน้ำความเค็มคือที่ 5, 10 และ 15 ppt และเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ 30 ยยะ พบว่า ระดับความเค็มที่ 5 และ 10 ppt สามารถทำให้หนอนตัวมีการบวมและแตก ในที่สุดจะตายภายในเวลาที่สังเกตที่ 6, 12, 24 และ 48 ชั่วโมง แต่หอยแมลงภู่จะไม่สามารถทนความเค็มที่ต่ำในช่วงนี้ได้ก็สามารถพบการตายได้เหมือนกัน ส่วนที่เค็มที่ 15 ppt ทำให้หนอนมีปริมาณลดลง เหลือ 20-30 ตัวต่อหอย 10 ตัว เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม 30 ppt ที่มีหนอนเฉลี่ย 100-150 ตัวต่อหอย 10 ตัว ตลอดการสังเกตภายใน 48 ชั่วโมง วงจรชีวิตของหนอนตัวแบนจากแม่หนอนที่สามารถให้ไข่หนอนในท้องที่ 52 +- 4 ตัว และไข่ 1 ใบ สามารถแบ่งตัวให้ตัวอ่อน 2-3 ตัว ไข่หนอนไม่สามารถเคลื่อนที่ ส่วนใหญ่จะติดที่เหงือกหอยแมลงภู่ จนกระทั่งเป็นตัวอ่อนที่ปรากฏขนรอบตัวจึงเริ่มว่ายน้ำ และเจริญเป้นตัวเต้มวัยและเป็นตัวแก่ที่มีไข่อยู่ในท้อง จะใช้ระยะเวลาช่วง 10-20 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความเค็มของน้ำทะเล ผลสรุปการศึกษาการระบาดของหนอนตัวแบนในหอยแมลงภุ่ตามแนวชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี ทั้งแบบแพและไม้ไผ่ในช่วง 2 ปี ทำให้ทราบว่าปัจจัยหลักในการระบาดของหนอนตัวแบนจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีของการเจริญเติบโตของหอยแมลงภู่ การระบาดจะรุนแรงจะมากในปีที่ฤดูกาลมีช่วงแล้งนาน ฝนตกช้า เพราะทำให้ความเค็มสูงกว่า 27 ppt และเมื่อร่วมกับอุณหภูมิน้ำทะลที่สูงถึง 30 'C ขึ้นไปความรู้ที่สรุปได้อีกคือ ความเค้มและอุณหภูมิน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงในทางลดลงทำให้หนอนตัวแบนจะว่ายน้ำออกจากหอยแมลงภู่ และคาดว่าการระบาดของหนอนตัวแบนในหอยแมลงภู่ไม่ได้เกิดขึ้นในทุก ๆ ปี we report on the findings from a survey of parasitic flatworms Turbellaria in relation to growth of bamboo stake farmed green mussels at Bang Sai. Muang and Ang Sila in Chonburi Province as well as Klong Dan in Samut Prakarn provinces in conjunction with raft cultured green mussels in Laem Tao Thewa, Bangpra and Sri Racha in Chon Buri Province. It is concluded that the parasitic flatworms are more prevalent on the raft culture operations with high flatworm densities found in large mussels that are awaiting harvest. These mussels seem to be the source for infection to smaller mussels. Infection in the large mussels was found in December (2009) at average densities of 50-400/30 mussels, leading to infection of small mussels at average densities of 50-300/30 mussels in January (2010), 50-700/30 mussels in February and 200-1200/30 mussels in March (2010), with corresponding to high seawater salinity and high water temperature. Little infestation was found in all sites in April while no infection was observed from all sites after April until harvest time in September, 2554. Growth of mussels is highest at Laem Tao Thewa, moderate at Sri Racha and Bang Phra, corresponding with the percentage health to body mass of green mussels was higher than 25%. However, mortality rate was 0 to 23% (dead mussel per total mussel) observed during March to June, 2554 but high mortality was at 14.9-60.5% (dead mussel per total mussel) during July to August. The percentage health to body mass of green mussels was lower than 20% with corresponding mortalities highest in April (2010) at 20-25% at Leam Tao Thewa and Sriracha. Water quality monitored at 7 stations covering the study areas was within national standards set by the Royal Thai government for coastal aquaculture. The study in 2011 found fewer flatworms infections on bamboo stake and raft than last year. The density of flatworms can only be found in April and May with the most infections at Angsila station at 57+-10 flatworms per 30 mussels and 124+- 24 flatworms per 30 mussels respectively. As for Bang Phra Station, 20 flatworms out of 30 mussels were found in April only and less than 20 flatworms per 30 mussels were found from all six station. In addition, green mussels weight index increased 25% in all stations since January as well as lower death rate was observed at an average of 5-10% for both bamboo stake and raft, which shows better growth in 2011 than in 2010. flatworm extermination technique on 2-3 centimeteres mussels cluster at low salinity concentration of 5,10 and 15 ppt was compared with 30 ppt as control. The result demonstrates that at 5 and 10 ppt concentration, flatworms swell and exploded and eventually death at 6,12,24 and 48 hours. Howerver, green mussels cannot withstand low salinity level at this level, which mussels death can also be observed. At 15 ppt concentration, flatworms were lowered to 20-30 per 10 green mussels as compared to the control group at 30 ppt with an average of 100-150 flatworms per 10 musseless during 48 hours observations. The life cycle of flatworms starts from its birth of 52+- 4 eggs batch and one egg can split into 2-3 flatworm larva. The eggs are immobile and are established on green mussels gills until hatch into a larvae with cilia all over its body so it can swim. The flatworm will grow into adult nd then to an age where they are also have eggs. which life span has about 10-20 days depending on temperature and salinity level. The result from the study of flatworms infestation on green mussels along Chonburi Province coastal areas of both bambook stake and raft in the past 2 years demonstrates the major factors for flatworms infestation that occurs at the begining of green mussels growth. The infection intensity will increase in the year with long dry season and late rainfalls, because it alloes the salinity concentration to be more than 27 ppt and in combination with an increase in temperature of more than 30' C. Another conclusion from this study is the decline of salinity and temperature that allows flatworms to swim out of green mussels. Flatworm infections in mussels probably does not occur every year.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/589
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น