กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/566
ชื่อเรื่อง: โครงการนำร่องในการผลิตของที่ระลึกเซรามิกส์ชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guiding projectfor the production of ceramic souvenirs in Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์
เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ของที่ระลึก - - ชลบุรี
เครื่องเคลือบดินเผา
อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา - - ชลบุรี
เครื่องเคลือบดินเผา - - ชลบุรี - - การผลิต
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2539
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การดำเนินงานของโครงการนำร่องในการผลิตของที่ระลึกเซรามิกส์ชลบุรี เพื่อที่จะศึกษาและทดลองเกี่ยวกับดินที่ใช้ในการผลิตอิฐและกระเบื้องดินเผา ซึ่งเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีมาแต่เดิมในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ได้แก่ ดินพานทอง และดินบางคล้า โดยดินทั้ง 2 แหล่งนั้นมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกันคือ เป็นดินที่มีความเหนียว เนื้อค่อนข้างหยาบ เมื่อนำมาเผาในอุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบออซิเดชั่น (Oxidation Firing) จะได้เนื้อดินสีน้ำตาลแดง มีอัตราการดูดซึมน้ำ 6-10 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการหดตัวประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ โดยได้นำดินทั้ง 2 แหล่ง มาทดลองปรับคุณสมบัติเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อวิธีการขึ้นรูป เหมาะสมต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ มีความสวยงามและสามารถนำมาเคลือบผิวได้ โดยนำดินดังกล่าวมาปรับคุณสมบัติด้วยการผสมวัตถุดิบอื่น ๆ ในอัตรส่วนดังนี้ กินพานทองหรือดินบางคล้า 40-60% ดินดำปราจีน 20-40% หินฟันม้า 20-40% ดินเหลืองปราจีน 0-10% จากการปรับคุณสมบัติของวัตถุดิบตามสัดส่วนดังกล่าว ทำให้ได้เนื้อดินที่ละเอียดขึ้น มีความเหนียว สีน้ำตาลอมเหลือง มีอัตราการดูดซึมน้ำประมาณ 0-7 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการหดตัวประมาณ 8-15 เปอร์เซ็นต์ โดยดินพานทองหรือดินบางคล้า จะเป็นวัตถุดิบหลักและสามารถพิจารณาเลือกใช้ดินดำหรือดินผสมสำเร็จรูปแทนได้ ส่วนหินฟันม้าจะช่วยให้เนื้อดินหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน มีความมันในเนื้อดิน ทั้งช่วยลดความเหนียวของเนื้อดิน ซึ่งดินผสมดังกล่าวสามารถนำมาขึ้นรูปได้ด้วยการปั้นด้วยมือ ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ขึ้นนรูปด้วยการอัดดินจากพิมพ์ และขึ้นรูปด้วยวิธีการจิกเกอร์ แม้แต่การหล่อน้ำดิน แต่ทั้งนี้การหล่อน้ำดินจะต้องใช้ดินพื้นบ้านในปริมาณที่น้อยลงและทำการกวนและกรองดินที่ดีขึ้น ในการดำเนินงานของโครงการนำร่องนี้ ได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเนื้อดินผสมดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางเป้นแบบอย่าง ด้วยวิธีการขึ้นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทดลองจำหน่ายและทำการเผยแพร่ข้อมูลนำมาเสนอผลิตภัณฑ์แก่บุคคลโดยทั่วไป ทั้งได้แจกจ่างผลิตภัณฑ์และเผยแพร่ข้อมูลในรูปของเอกสาร แผ่นพับ ตลอดจนนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อมวลชนด้วยหนังสือพิมพ์และวารสาร รวมทั้งหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/566
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น