กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/553
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจรของหน่วยงานที่รับผิดชอบปัญหาอุบัติเหตุจราจร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Program development for empowering the stakeholder in traffic accident management
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุหลาบ รัตนสัจธรรม
วิวัฒน์ วิริยกิจจา
ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: อุบัติเหตุทางถนน - - การจัดการ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจร ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ พื้นที่ที่ศึกษาอยู่ใน 8 ตำบลของ 3 อำเภอ คือ เมืองระยอง แกลง และปลวกแดง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสรุปผล แบบรายงานความก้าวหน้า แบบประเมินผล ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ระหว่าง .8676 - .9392 วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณาในรูปของจำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยโดยสรุปดังนี้ คือ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ในจังหวัดมีมากกว่า 10 หน่วยงาน องค์ประกอบของเครือข่ายในการจัดการที่สำคัญมากที่สุดคือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และตำรวจ แต่ผู้ที่สามารถทำได้ทันทีคือ ตำรวจ ในพื้นที่ 3 อำเภอ พบความสามารถในการจัดการ อยู่ระหว่างร้อยละ 69.06 - 71.75 ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การเผชิญความจริงอยู่ระหว่างร้อยละ 69.06 - 71.75 ความสามารถในการคิดทบทวนสถานการณ์ในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุ อยู่ระหว่างร้อยละ 61.87 - 67.70 งานที่ทำมากที่สุดคือการประชาสัมพันธ์ฯ งานที่ควรปฏิบัติร่วมกัน 10 งานพบส่วนมากทำเพียง 2-4 งาน มีบางกิจกรรมที่ไม่มีการปฏิบัติร่วมกันเลยคือ งานรายงานสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ งานรับแจ้งเหตุ และงานกู้ภัย พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจร โดยการถอดบทเรียนการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด ให้สอดคล้องกับความสามารถ และบริบทข้างต้น ได้ตัวรูปแบบการจัดการในระดับต่างๆ จัดทำเป็นคู่มือและสื่อสำเร็จรูปขึ้น ประกอบไปด้วย แนวทางการวางแผนกลยุทธ์ แนวทางการดำเนินงาน และแนวทางการประเมินผล มีการกำหนดรูปแบบโปรแกรมจัดการอุบัติเหตุจราจรแบบบูรณาการ ประกอบด้วยรูปแบบก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุในรูปของเอกสารและสื่ออิเลคโทนิค ทดลองใช้ใน 3 อำเภอต้นแบบ จากการประเมินประสิทธิผล การใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจร พบว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมฯอยู่ในระดับ ดึถึงดีมากมากกว่าร้อยละ 80 ในเรื่องของเนื้อหาของสื่อ ประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อ อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ ภาพประกอบชัดเจน และสะดวกในการนำไปใช้ได้ มีข้อเสนอให้เพิ่มรูปแบบให้หลากหลายขึ้น เพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ความสำเร็จที่พบยังไม่เห็นผลชัดเจน มีการประสานเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น แต่การจัดการต่างๆ ยังติดขัดด้วยลักษณะของพื้นที่ ความสำเร็จที่เห็นชัดเจนอยู่ที่อำเภอปลวกแดง มีการขยายผลโดยตั้งศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อร่วมกันในการจัดการอุบัติเหตุจราจร แสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาพลังอำนาจในระดับหนึ่ง ควรมีการขยายผลและติดตามความสามารถของเครือข่ายต่าง ๆ ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/553
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น