กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/550
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเรณา พงษ์เรืองพันธุ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:56Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:56Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/550
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติและการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ของพยาบาลวิชาชีพ ที่สถานภาพพ้นฐานต่างกัน ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ และภูมิหลังของพยาบาลวิชาชีพ ตัวอย่างประชากรคือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ จำนวน 500 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบที่ตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงมาแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุคูณ (multiple regression) ข้อค้นพบที่สำคัญ 1.ความรู้เรื่องโรคเอดส์ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับ “ปานกลาง” ด้านทัศนคติอยู่ในระดับ “ปานกลาง” และด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์อยู่ในระดับ “ดี” 2.พยาบาลที่แต่งงานแล้ว ให้การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ ดีกว่า พยาบาลโสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ด้านความรู้ และทัศนคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์ของพยาบาลโสด และแต่งงานแล้ว ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับพยาบาลที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ มีความรู้ ทัศนคติ และการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติ อายุ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ทัศนคติและอายุของพยาบาลวิชาชีพ สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R2 = .070) โดยเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ z^ (การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์) = .238 * (ทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพ) + .115 * (อายุของพยาบาลวิชาชีพ)th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปีงบประมาณ พ.ศ. 2538en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้ป่วย - - การดูแลth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectโรคเอดส์th_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และการดูแล ผู้ป่วยโรคเอดส์ ของพยาบาลวิชาชีพภาคตะวันออกของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe relationship between knowledge, attitude and care for people living with aids among professional nurse in the eastern regionof Thailanden
dc.typeResearchth_TH
dc.year2539
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to identify and compare the level of knowledge, attitude and the care towards people living with AIDS (PLWH/A) among professional nurse of different backgrounds and to determine the relationship between these variables. The sample consisted of five hundred experienced and inexperienced professional nurse (working in hospitals in the Eastern region of Thailand). The research instrument was a questionnaire which had been validated and tested for reliability. Data were analyzed by frequencies, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t – test, correlation, and multiple regression. Finding were : 1.Professional nurse’ knowledge attitude towards AIDS were both at the “moderate” level while their care for PLWH/A was at the “GOOD” LEVEL. 2.Married nurses were found to take better care of PLWH/A than single nurse at a level of significance of .01. There were no statistical significant difference in knowledge on AIDS and attitude toward PLWH/A between professional nurses when classified by marital status. There was no difference regarding knowledge attitude and care for PLWH/A between professional nurses who had experience and those who had no experience (at a level of significance of .05). 3.There was no correlation between the level of care for PLWH/A and knowledge on AIDS perceived by the professional nurses (at a level of significance of .05). However, the level of care for PLWH/A had a positive correlation to attitude, age, and the years of experience of professional nurses (at a level of significance of .05). 4.Attitude and age of professional nurses could be combined to predict the level of care behavior of professional nurses for PLWH/A at a significance of .05 (R2 = .070). Z ^ (care of people live with AIDS) = .238 * (attitude of professional nurse) + .115 * (Age of professional nurse)en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_251.pdf2.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น