กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/535
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุนิศา แสงจันทร์
dc.contributor.authorศิริพร จันทร์ฉาย
dc.contributor.authorอรพิน รังษีสาคร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/535
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม และเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนเกษตรกรรมในจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้นำชุมชน 77 คน ได้แก่ ชุมชนประมง 17 คน ชุมชนอุตสาหกรรม 29 คน ชุมชนเกษตร 31 คน และตัวแทนวัยรุ่นชุมชนเกษตร 15 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อย และพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของในชุมชนเกษตรกรรม โดย เทคนิคการอภิปรายกลุ่ม การสนทนากลุ่มย่อย และประยุกต์แนวคิดการวางแผนแบบ ZOPP Technique วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมนำเสนอข้อมูลจริงในแต่ละขั้นตอน ของการพัฒนาศักยภาพของชุมชนตามขั้นตอนหลัก คือ การวิเคราะห์บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้องกับ วิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์วัตถุประสงค์ และวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา และวางแผนหลักของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของในชุมชนเกษตรกรรม พบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญและความตระหนักต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์ลดน้อยลงจากเดิมมาก เพราะไม่คิดว่ามีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในชุมชน และมุ่งค้นหาว่ามีใครป่วยในชุมชน มากกว่าจะคิดถึงการป้องกันในกลุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ตามพบความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพและแก้ไขปัญหาเอดส์ของชุมชนเกษตรกรรม โดยประยุกต์แนวคิดการวางแผนแบบ ZOPP Technique มีรูปแบบการดำเนินงานที่สำคัญ 5 ประการ คือ ประการที่ 1 ศักยภาพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินพัฒนาศักยภาพและแก้ไขปัญหาเอดส์ของชุมชนเกษตรกรรม คือ การบริหารจัดการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน ซึ่งมีการประสานงานกันใน 2 ด้าน คือ ด้านแรก ความรู้ ความตระหนักและการให้ความสำคัญด้านสุขภาพ ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง คือ บทบาทในการบริหารจัดการทรัพยากร และงบประมาณในชุมชน โดยพบองค์กรหลักที่ควรร่วมมือกัน คือ อสม. และ อบต. ประการที่ 2 ความสำเร็จของโครงการเอดส์ในชุมชนจะสำเร็จหรือไม่ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ผู้นำชุมชนต้องไม่ท้อถอย เสียสละ มองการณ์ไกล สนใจปัญหา และให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพ ผู้นำชุมชนบางส่วนอาจไม่เห็นด้วยและไม่ร่วมมือ รวมทั้งอาจคัดค้าน แต่ผู้นำชุมชนที่ร่วมมือ ร่วมใจ ต้องยืนหยัด และสนับสนุนกลุ่มที่ดำเนินการอย่างจริงใจ ประการที่ 3 หัวใจสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์อยู่ที่การมีส่วนร่วมของชุมชนในการที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข่าวสารภายในชุมชน และกับภายนอกชุมชน มีการเปิดโอกาสการระดมความคิดของทุกคน โดยเทคนิคการสนทนากลุ่ม และเทคนิคซอฟ (ZOPP) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่เรียนรู้มีส่วนร่วม และมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ประการที่ 4 แกนนำควรมาจากการรวมตัวกันของชุมชนเอง ไม่ใช่จากการจัดตั้ง กลุ่มวัยรุ่น/เยาวชน จัดเป็นกลุ่มแกนนำที่มีศักยภาพกลุ่มหนึ่งที่มีความสามารถในการดำเนินงานด้านเอดส์ในชุมชน สามารถเชื่อมประสานระหว่างครอบครัวกับครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยย่อยของชุมชน และระหว่างครอบครัวกับองค์กรในชุมชนได้เป็นอย่างดี ประการที่ 5 การริเริ่มโครงการเอดส์ ไม่สามารถให้ชุมชนริเริ่มเองได้ ภาครัฐต้องเข้าไปกระตุ้น และเป็นที่ปรึกษา แต่ไม่เข้าไปควบคุมกำกับ ไม่บริหารจัดการให้ทั้งหมด แต่ควรเป็นร่วมคิดร่วมทำในระยะแรก และเมื่อชุมชนสามารถดำเนินการได้เอง จึงเริ่มให้ชุมชนคิดสร้างสรรค์เองมากขึ้น จึง เสนอแนะว่า สามารถประยุกต์รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน ไปใช้สำหรับชุมชนที่มีลักษณะ บริบททางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมใกล้เคียงกับชุมชนเกษตรกรรมที่ศึกษาได้ อย่างไรก็ตามแต่ละชุมชนต่างมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ดังนั้นจึงควรปรับประยุกต์กระบวนการ และรายละเอียดในขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับชุมชนนั้น ๆ Abstract The purpose of the study was to develop a model for HIV/AIDS prevention and problem solving for the communities in Rayong, Thailand. The particpants of this study consisted of 77 formal and informal leaders and 15 teenager leaders. Individual in-depth interviews and focus groups discussion with community leaders were conducted to obtain the data. Content analysis was performed to analyze qualitative data. Focus groups discussion and ZOPP Technique develop the potential of this agricultural community potential. The main steps of development procedure were participation analysis, problem analysis, objective analysis, alternative analysis and project planning. The result revealed that most of community leaders did not show concern and priority for HIV/AIDS. This created difficulty for strengthening and empowering HIV/AIDS activities. They focus on finding out cases in the community more than prevention activities. The intervention model for community potential development for HIV/AIDS activities focus on five needs: 1) The leaders who operate HIV/AIDS activities needs to have concern about risk behaviors and problem of HIV/AIDS and have had power to support and facilitate capital resources, for example public health volunteer work with district government. 2) Strong and committed leaders who operate HIV/AIDS activities need to show interest in the problem and be keen to solve problem. Maybe some leaders do not agree with the HIV/AIDS activities, but they made a stand for operate and support for community potential development for HIV/AIDS activities. 3) The model should include participatory orientation inside and outside of the community. It should provide opportunities for everybody involved to particpate in projecting the HIV/AIDS situation in the community, analyzing the problem and the cause of the problem, analyzing the objectives and analyzing the alternatives at every step of the project planning. 4) The local leader, established by natural organization in community, will maintain their AIDS activities control in the community. Adolescents were the participants who could be the strong leaders for operating and participating in all steps of community potential development for HIV/AIDS activities. 5) Community needs some provider to work with them in first period, and then they could strengthen themselves until normal operation and more creative for suitable activities with the community. It was difficult for the community makes a plan and creates the HIV/AIDS activities by themselves. Government and private organization should encourage, support and capacity building for community, but not manage, and control.th_TH
dc.description.sponsorshipทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2548en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - ไทย - - การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectโรคเอดส์ - - ไทย - - ระยอง - - การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.titleศักยภาพของชุมชนและรูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาเอดส์ในชุมชนth_TH
dc.title.alternativePotential and model for HIV/AIDS prevention and problem solving of the communitiesth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น