กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/512
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.authorยุพิน ถนัดวณิชย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:53Z
dc.date.issued2544
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/512
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมรรับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จ.ชลบุรี ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน 2544 จำนวน 100 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการรับรู้ความเครียดของเลเวนสทีนและคณะ (1993) ซึ่งแปลและดัดแปลงเป็นภาษาไทยโดยวริยา วชิราวัฒน์ (2543) และแบบสอบถามการเผชิญความเครียด ซึ่งแปลและดัดแปลงเป็นภาษาไทย จากแบบวัดการเผชิญความเครียดของจาโลวิค (1988) โดย หทัยรัตน์ แสงจันทร์ (2541) ผู้วิจัยนำแบบสอบถามทั้งสองไปหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการรับรู้ความเครียดเท่ากับ .83 แบบสอบถามการเผชิญความเครียดโดยรวมเท่ากับ .81 โดยที่ด้านการจัดการกับปัญหา ด้านการจัดการกับอารมณ์และด้านการแก้ปัญหาทางอ้อมเท่ากับ .75, .71 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และมีการใช้วิธีการเผชิญความเครียดทั้งสามด้านผสมผสานกัน โดยมีสัดส่วนวิธีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับปัญหามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการแก้ปัญหาทางอ้อมและด้านการจัดการกับอารมณ์น้อยที่สุด ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้สามารถเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนเป็นแนวทางสำหรับการบริหาร การวิจัยและการจัดการศึกษาพยาบาลต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2543en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectหลอดเลือดสมอง - - โรค - - ผู้ป่วย - - การดูแลth_TH
dc.titleความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.title.alternativeStress and coping of stroke potient caregiversen
dc.typeResearch
dc.author.emailpornchai@buu.ac.th
dc.author.emailtanatwanit@buu.ac.th
dc.year2544
dc.description.abstractalternativeThe main purposes of this descriptive research were to describe level of stress and coping styles of stroke caregivers. The subjects were caregivers of stroke out patients who attended the out patient department. Queen Sawangwattana Memorial Hospital, Chonburi during May to' September, 2001. A hundred subjects were purposively selected. The instruments used the Demographic data interview Form; the perceived stress scale translated from the perceived stress scale (PSS) developed by levenstein et. al, (1993) by Wariya wachirawat (2000) and the translated Jaloweic Coping Scale (JCS). The reliability coifficients of the perceived stress scale, the overall Jaloweic coping scale, confrontive coping, emotive coping and palliative coping scales were .83, .81, .75, .71 and .83 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics The results of this study revealed that stress of stroke patient caregivers was at moderate level. All caregivers used a combination of coping styles. The proportion of coping styles the caregivers used from the highest to the lowest was confrontive, palliative and emotive styles. From the findings, implications for nursing practice to help stroke patient caregivers to effectively cope with stress, nursing administration, nursing research and nursing education were recommendeden
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2544_001.pdf2.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น