กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/508
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of self-esteem among HIV positive pregnant women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์
รัชนีวรรณ รอส
ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความรู้สึก
สตรีมีครรภ์ - - การดูแล
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
โรคเอดส์ในสตรีมีครรภ์ - - ไทย
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี เลือกผู้เข้าร่วมวิจัยแบบเจาะจงจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 10 ราย ที่มารับบริการในหน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลชลบุรี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2545 คณะผู้วิจัยได้ให้บริการที่หน่วยฝากครรภ์ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน (ในรายที่อนุญาต) โดยให้บริการ 5-12 ครั้ง ติดต่อกัน 3-7 เดือน กระบวนการวิจัยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี คณะผู้วิจัยและพยาบาลหน่วยฝากครรภ์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การค้นหาปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การค้นหาวิธีและลงมือกระทำเพื่อจัดการกับปัญหาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอชไอวี โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ สรุปประเด็นและสร้างรูปแบบการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอชไอวี ประกอบด้วย 1) กระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 2) การส่งเสริมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และ 4) ผลลัพธ์ของการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง กระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มี 4 ระยะ คือ 1) จาก "ตกใจ/ไม่คาดคิด" หรือ "ทำใจไว้แล้ว" สู่ "การยอมรับและหยุดความคิดที่จะทำแท้ง" 2) จาก "ปิดบังสังคม" สู่ "การเข้ากลุ่มเปิดเผยตนเอง" 3) จาก "กลัวลูกติดเชื้อ/ คาดหวังว่าลูกจะไม่ติดเชื้อ" สู่ "มีความหวังและกำลังใจที่ได้เข้ารับโครงการวิจัยกินยาต้านไวรัสเอดส์" และ 4) จาก "พึ่งตนเองได้ เหมือนมีเพื่อนคอยคิด มิตรคอยเตือน" สู่ "รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า" การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองประกอบด้วย การให้การปรึกษาหลังการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี สอน/แนะนำเทคนิคการจัดการกับปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก สนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์ปรึกษาทีมสุภาพ และประเมินร่วมกัน กลยุทธ์การส่งเสริมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองประกอบด้วย การสร้างความไว้วางใจและเชื่อถือ สะท้อนคิดพิจารณา การมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้เข้ากลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สนับสนุนเข้าโครงการวิจัยกินยาต้านไวรัสเอดส์ ฝึกการแสวงหาและรู้จักเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างสิ่งหล่อเลี้ยงทางใจ โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ได้แก่ ระยะเวลาที่ติดเชื้อ ทักษะในการตัดสินใจ กำลังใจจากครอบครัว ความหวังสติปัญญา และกระบวนการคิดเชิงเหตุ-ผล และลักษณะเข้มแข็ง การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นบทบาทที่ชัดเจนของพยาบาลในการส่งเสริมการพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง จากการที่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่าจากการติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ทำให้สังคมรังเกียจ รวมทั้งเชื้อเอชไอวีมีโอกาสถ่ายทอดสู่ลูกในครรภ์ จนคิดทำแท้ง เมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ บทบาทของพยาบาลในการใช้กระบวนการดูแล ทำให้ทั้งพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงติดใจกัน ร่วมกันตัดสินเลือกปฏิบัติสิ่งที่ดีและเหมาะสม หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี รับรู้ถึงกระบวนการดูแลที่มีความเมตตา เอื้ออาทร และหวังดีอย่างจริงใจจากคณะผู้วิจัย เหมือนมีเพื่อนคอยคิด มิตรคอยเตือน รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถพึ่งตนเองได้ จึงตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปและตั้งใจดูแลลูกในครรภือย่างมีความสุขจน สามารถคลอดลูกที่มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนทารกทั่วไป The objective of this action research was to develop a model of promoting self-esteen among. HIV positive pregnant women. Ten HIV positive pregnant women who attended the antenatal clinic (ANC) at Chonburi Hospital were purposively recruited to participate in this study. The study had been conducted from February, 2001 to February, 2002. The researchers gave them consecutive clinical services of 5-12 times within 3-7 months and home visits (in cases of permission). The research process was based on mutual collaboration among the HIV positive pregnant women, the researchers, and nurses at the ANC. The research process consisted of assessment of self-esteem, defining problems and factors affecting self-esteem development, and finding out modes of problem solving in order to promote self-esteem among the pregnant women. In-depth interviews, participant observations, and field notes were carried out to collect data. Data were analyzed by applying content analysis method to generate thems for construction the model self-esteem development. The results indicated that the model consisted of : 1) transitional process of self-esteem development; 2) promotion methods of self-esteem development; 3) factors affecting self-esteem development; and 4) self-esteem development outcomes. There were four steps in the transitional process of self-esteem development : 1) from "shock/unexpected" or " as expected" to "acceptance and stop thinking of abortion"; 2) from "concealing" to "disclosure to self-help group"; 3) from "frar of spreading HIV to baby/ hoping that baby will be free from HIV" to "gaining of willpower due to anti-HIV medication participation"; and 4) from "self-reliance/ transpersonal caring" to "high self-esteem". Promotion methods of self-esteem development included: providing psycho-emotional management counseling, knowledge about HIV transmission from mother to child, psycho-emotional support, health care team consultation, and mutual evaluation. Strategies for promoting self-esteem development consisted of : trusting-relationship initiatives; self-reflection; participations; self-help group membership; anti-HIV medication participation; information searching and utilization; and efforts to uplift oneself spiritually. Factors affecting self-esteem development comprised of: time of HIV infection; decision-making skills; emotional support from family; hope; cognition and reasoning; and personality hardiness. The research revealed salient independent role of nurse in promoting self-esteem development among HIV positive pregnant women. They felt low self-esteem after knowing that they were infected with an incurable disease, HIV/AIDS that can be transmiiied to other people, especially to their babies leading them to think about terminating their pregnancy. Through collaborating with this research, the pergnant women and nurses met transpersonal caring which helped HIV positive pregnant women to choose the most suitable ways of enhancing their self-esteem. After the HIV positive pregnant women received caring process of mercy and good will provided by the researchers, their self-esteem and self-reliance were improved. Most of them decided to persist pregnancy and carefully took care of the fetus with happiness untial delivery of a normal healthy baby.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/508
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2545_013.pdf6.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น