กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4679
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศหมู่บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Ecotourism access pattern: Thung Ruk village Kuraburi district, Phang Nga province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิรัฎฐ์ โชคอริยพิทักษ์
สุชนนี เมธิโยธิน
ธเนศ มณีกุล
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- พังงา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- พังงา
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- การประชาสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้มาจากการให้นักท่องเที่ยว ที่เข้าไปเที่ยวในสถานที่ดังกล่าว จำนวน 300 คน ตอบแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เกี่ยวกับการรับรู้และความต้องการ ในการมาเที่ยวจังหวัดพังงา ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้ 1) ด้านพื้นที่ 2) ด้านการจัดการ 3) ด้านกิจกรรม และกระบวนการ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมทั้งชุมชนและนักท่องเที่ยว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และใช้การทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบจำแนกทางเดียวโดยใช้ค่า สถิติ One-way ANOVA, F-test และในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะท าการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระดับความเชื่อมั่น 95 % และสมการพยากรณ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัย สามารถสรุปรูปแบบการเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: หมู่บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ได้ 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการประชาสัมพันธ์ พบว่า สื่อที่ส่งผลต่อการรับรู้และความต้องการเป็นอันดับ 1 ได้แก่ “ทวิตเตอร์” โดยเกี่ยว ข้องกับปัจจัย ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 2 “โดยการบอกต่อเพื่อน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัย ด้านพื้นที่ ด้านกิจกรรมและด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 3 “สื่อการท่องเที่ยวของรัฐ” โดยเกี่ยว กับปัจจัยด้านพื้นที่ ด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม และอันดับที่4 “อินสตาร์แกรม” ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า มีความต้องการเข้าร่วมเป็นอันดับที่ 1 ได้แก่ “เกาะพระทอง” ในปัจจัยด้านพื้นที่อันดับที่ 2 “กิจกรรมการกางเต็นท์” ในปัจจัยด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ และด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 3 “ทะเลแหวกหนวดมังกร” ในปัจจัยด้านพื้นที่ อันดับ 4 “การอนุรักษ์พันธุ์ไม้การส่องสัตว์” ในปัจจัยด้านพื้นที่และด้านการจัดการ และอันดับที่ 5 “ทัศนะศึกษา” ในปัจจัยด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังพบว่า องค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านพื้นที่ 2) ด้านการจัดการ 3) ด้านกิจกรรมและกระบวนการและ 4) ด้านการมีส่วนร่วม ทั้งชุมชนและนักท่องเที่ยว สนับสนุนให้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความมั่นคงและยั่งยืน หรือเกิดโซ่แห่งคุณค่า
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4679
ISSN: 1685-2354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
mba14n2p66-79.pdf702.03 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น