กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4643
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรัชนี แตงอ่อน-
dc.date.accessioned2022-08-08T08:40:55Z-
dc.date.available2022-08-08T08:40:55Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.issn1906-506X-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4643-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทฤษฎี แนวคิด และที่มา ของการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring: EM) ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในกฎหมายไทยและต่างประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ถึงการบังคับใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อได้บทสรุปและข้อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมของการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้าจากตำรา หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ วารสาร ทฤษฎี หลักกฎหมายตลอดจน ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า การนำอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยมีประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ได้แก่ ปัญหากรณีการกำหนดประเภทนักโทษในการบังคับใช้ EM ตามประมวลกฎหมายอาญา ความยินยอมของผู้กระทำผิดหรือจำเลย กรณีการปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์ EM และกรณียากจน ตลอดจนมาตรการทางอาญากรณีการบังคับโทษสำหรับผู้ทำลายอุปกรณ์และกรณีละเมิดข้อมูลในระบบปฏิบัติการอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยได้บทสรุปว่าการกำหนดมาตรการทางเลือกอื่นนอกจากการลงโทษจำคุกและปรับ จำเลยได้รับโอกาสแก้ไขความผิดของตนโดยไม่มีมลทินติดตัว สร้างความรู้สำนึกในการกระทำความผิดให้แก่จำเลย เป็นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดโดยไม่ควบคุมตัวไว้ในเรือนจำ ทั้งนี้ ศาลใช้ดุลพินิจในการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยศาลสามารถกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติผู้กระทำความผิดได้โดยการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เป็นมาตรการทางกฎหมายที่มีประโยชน์สอดคล้องกับบริบทของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้ข้อเสนอะแนะทางกฎหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ ขั้นตอนการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดโดยกำหนดความผิดทางเพศที่มีโทษร้ายแรงให้ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ หากบุคคลนั้นมีลักษณะเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างร้ายแรง ส่วนขั้นตอนหลังการตัดสินของศาล ให้สิทธิจำเลยยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์แทนโทษจำคุก เฉพาะคดีที่ไม่ร้ายแรง และในขั้นตอนการปล่อยตัวนักโทษ ให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อขอให้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขอพักการลงโทษได้th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์th_TH
dc.subjectการลงโทษth_TH
dc.subjectนักโทษth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeLegal measures on electronic monitoring punishment for the rehabilitative offenders in Thailandth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.issue3th_TH
dc.volume12th_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the theories, concepts and the origin of the use of electronic monitoring (EM) in the criminal justice system, including Thai and foreign laws relating to the use of electronic monitoring. The problems of the enforcement of electronic monitoring in Thailand were also studied and analyzed in order to obtain a summary and recommendations for the proper use of electronic monitoring in Thailand. This research is a qualitative research. Documentary research was done by studying textbooks, articles, theses, journals, legal theories, as well as information on the internet, etc. It was found that there are legal issues of the use of electronic monitoring in the criminal justice procedure in Thailand, such as the issue of prisoner classification and the enforcement of EM in accordance with the Criminal Code, the consent of the offender or the defendant, temporary release from prison by using EM, poverty, criminal measures and penalties for those who destroy the device, and data violations in the operating system of electronic monitoring. The researcher concluded that the determination of alternative measures, other than imprisonment and fines, gives the defendant the opportunity to correct his guilt and create awareness on his offense. This is the rehabilitation of offenders without detaining them in prisons. The court may, more appropriately, use its discretion to await imposition or await penalty. The court can determine the conditions for probation of the offenders by using electronic monitor as a legal measure. This is useful and in accordance with the context of the criminal justice process. However, the researcher suggested to amend the laws related to the use of electronic monitoring. In the probation process of the offenders with serious sexual offense, electronic monitoring shall be used if that person causes a serious danger to society. After the judgment, for non-serious cases, the defendant has the right to file a petition to the court to consider the use of electronic monitoring instead of imprisonment. In the process of releasing prisoners, the defendant has the right to file a request for suspension to the prison commander to remove the electronic monitoring.th_TH
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and lawth_TH
dc.page451-472.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic12n3p451-472.pdf573.73 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น