กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4643
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures on electronic monitoring punishment for the rehabilitative offenders in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนี แตงอ่อน
คำสำคัญ: อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์
การลงโทษ
นักโทษ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทฤษฎี แนวคิด และที่มา ของการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring: EM) ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในกฎหมายไทยและต่างประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ถึงการบังคับใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อได้บทสรุปและข้อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมของการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้าจากตำรา หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ วารสาร ทฤษฎี หลักกฎหมายตลอดจน ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า การนำอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยมีประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ได้แก่ ปัญหากรณีการกำหนดประเภทนักโทษในการบังคับใช้ EM ตามประมวลกฎหมายอาญา ความยินยอมของผู้กระทำผิดหรือจำเลย กรณีการปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์ EM และกรณียากจน ตลอดจนมาตรการทางอาญากรณีการบังคับโทษสำหรับผู้ทำลายอุปกรณ์และกรณีละเมิดข้อมูลในระบบปฏิบัติการอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยได้บทสรุปว่าการกำหนดมาตรการทางเลือกอื่นนอกจากการลงโทษจำคุกและปรับ จำเลยได้รับโอกาสแก้ไขความผิดของตนโดยไม่มีมลทินติดตัว สร้างความรู้สำนึกในการกระทำความผิดให้แก่จำเลย เป็นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดโดยไม่ควบคุมตัวไว้ในเรือนจำ ทั้งนี้ ศาลใช้ดุลพินิจในการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยศาลสามารถกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติผู้กระทำความผิดได้โดยการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เป็นมาตรการทางกฎหมายที่มีประโยชน์สอดคล้องกับบริบทของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้ข้อเสนอะแนะทางกฎหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำอุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ ขั้นตอนการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดโดยกำหนดความผิดทางเพศที่มีโทษร้ายแรงให้ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์ หากบุคคลนั้นมีลักษณะเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างร้ายแรง ส่วนขั้นตอนหลังการตัดสินของศาล ให้สิทธิจำเลยยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาการใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์แทนโทษจำคุก เฉพาะคดีที่ไม่ร้ายแรง และในขั้นตอนการปล่อยตัวนักโทษ ให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อขอให้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขอพักการลงโทษได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4643
ISSN: 1906-506X
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic12n3p451-472.pdf573.73 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น