กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4636
ชื่อเรื่อง: การนำนโยบายเมืองสมุนไพรไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The implementation of herbal city in Samutprakan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประยุกต์ ปิติวรยุทธ
กิจฐเชต ไกรวาส
คำสำคัญ: การนำนโยบายไปปฏิบัติ
สมุนไพร
การพัฒนาเมือง
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนานโยบาย “เมืองสมุนไพร” ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคในการนำนโยบาย “เมืองสมุนไพร” ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและแนวทางพัฒนาการนำนโยบาย“เมืองสมุนไพร”ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีการศึกษาแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการศึกษาด้วยเครื่องมือแนวคำถามแบบมีโครงสร้างที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ใน 3 กลุ่มจำนวน 24 คน ประกอบด้วยกลุ่มหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการขับเคลื่อนนโยบายเมืองสมุนไพรกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรผู้แปรรูปสมุนไพรและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายเมืองสมุนไพรวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูลและการเชื่อมโยงเชิงเหตุและผล ผลการศึกษาการนำนโยบาย “เมืองสมุนไพร” ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการด้านสมรรถนะองค์การโครงสร้างองค์การพบว่ายังขาดเหมาะสม เนื่องจากไม่มีคณะกรรมการเมืองสมุนไพร บุคลากรไม่การยอมรับในนโยบาย บุคลากรไม่เพียงพอ ทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เทคโนโลยียังไม่เหมาะสมกับภารกิจ สถานที่ไม่สะดวกในการดำเนินงาน งบประมาณไม่เพียงพอและระบบการจัดสรรงบประมาณขั้นตอนยุ่งยาก ด้านประสิทธิภาพในการวางแผนและควบคุม พบว่าเป้าหมายและวัตถุประสงค์นโยบายไม่ชัดเจน ทำให้ดำเนินการได้ยาก ผู้นำที่สนับสนุนการปฏิบัติงานและใช้วิธีการจูงใจเชิงบวกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยพูดให้กำลังใจใช้หลักจิตวิทยากระตุ้นให้บุคลากรแพทย์แผนไทยสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และใช้มาตรฐานเป็นเกณฑ์ในการพัฒนาจนเกิดเป็นรางวัลจากงานคุณภาพ ด้านการเมืองและการบริหารสิ่งแวดล้อมภายนอก พบว่านโยบายจะได้รับการสนับสนุนจากการเมืองต้องมีจุดเด่นและการเมืองท้องถิ่นไม่ให้การสนับสนุนนโยบาย นโยบายได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนและประชาชนที่มีส่วนแบ่งผลประโยชน์ ปัจจัยสนับสนุนในการนำนโยบาย “เมืองสมุนไพร” ไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบไปด้วยปัจจัยประสิทธิภาพการวางแผนสูงและควบคุมกำกับติดตามได้ดี ลักษณะนโยบายมีความสอดคล้องกับความต้องของพื้นที่ ภาวะผู้นำที่ดีและสร้างความร่วมมือและประสานงานได้ดี ปัจจัยอุปสรรคการนำนโยบายเมืองสมุนไพรไปปฏิบัติ ประกอบไปด้วยปัจจัยงบประมาณที่นำมาใช้ไม่เพียงพอความร่วมมือและการติดต่อประสานงานหน่วยงานทำได้ยาก บุคลากรยอมรับในนโยบายน้อยการมอบหมายภารกิจของหน่วยงานและวัตถุประสงค์ของนโยบายไม่ชัดเจน แนวทางพัฒนาการนำนโยบายเมืองสมุนไพรไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ พบว่าควรมีโครงสร้างองค์การที่ชัดเจนมีการจัดตั้งคณะกรรมการเมืองสมุนไพรระดับจังหวัด มีการบูรณาการงานร่วมกันในทุกภาคส่วน เพิ่มบุคลากรให้เพียงพอและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน สถานที่ควรเพิ่มพื้นที่ในการจัดจำหน่ายสินค้าที่เป็นอัตตลักษณ์ของจังหวัด งบประมาณต้องมีการจัดทำแผนงบประมาณให้ชัดเจนเพียงพอต่อภารกิจและควรมีการวางแผนร่วมกันทั้งระดับกรม จังหวัด และชุมชน ผู้บริหารใช้ภาวะผู้นำสร้างความร่วมมือในการจัดตั้งคณะกรรมการเมืองสมุนไพรในจังหวัด มาตรการของรัฐในการแก้ไขปัญหาสมุนไพรไทยต้องยั่งยืนและให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4636
ISSN: 1906-506X
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic13n1p481-496.pdf511.54 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น