กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4620
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก: ศึกษากรณี การใช้เฟสบุ๊ค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting social media addiction behaviors of undergraduate student in the Eastern Region: A case study of using Facebook
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัสรินทร์ ว่องสวัสดิ์
ธีระ กุลสวัสดิ์
คำสำคัญ: การติดสื่อสังคมออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์
นักศึกษา
เฟซบุ๊ค
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเสพติดการใช้เฟสบุ๊ค ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพติดการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก และพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2560 จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคตะวันออก วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ ความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเปรียบเทียบโมเดล โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยหลักปรากฏว่า ระดับพฤติกรรมการเสพติดการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีใน ภาคตะวันออก ในภาพรวมอยู่ในระดับเสพติดการใช้งานโมเดลเชิงสาเหตุการใช้เฟสบุ๊ค ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการรู้สึกง่ายต่อการใช้เฟสบุ๊ค การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ถึงพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค การรับรู้ว่าเฟสบุ๊คมีประโยชน์ เจตคติต่อการใช้เฟสบุ๊ค และความตั้งใจในการใช้เฟสบุ๊ค เป็นสาเหตุทางตรงของการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคตะวันออก ส่วนสาเหตุทางอ้อมได้แก่ เจตคติต่อการใช้เฟสบุ๊ค ความตั้งใจในการใช้เฟสบุ๊ค และพฤติกรรมเสพติดการใช้เฟสบุ๊คโมเดลที่พัฒนาขึ้นมี ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ((2/df เท่ากับ 2.97 ค่า GFI เท่ากับ .93 และ ค่า CFI เท่ากับ .97) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้เฟสบุ๊คของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคตะวันออก ได้ร้อยละ 52
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4620
ISSN: 1906-506X
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic13n2p320-337.pdf637.79 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น