กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4609
ชื่อเรื่อง: การจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The management of foreign workers in Fishery Sector of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีระชาติ แสงทวี
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
อนุรัตน์ อนันทนาธร
คำสำคัญ: แรงงานต่างด้าว -- ไทย
แรงงานในการประมง -- ไทย
ประมง -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายภาครัฐในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของการนำ นโยบายภาครัฐไปใช้ในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยและเพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการ แรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย รูปแบบการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการได้มาของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1. การศึกษาข้อมูลเอกสาร (Document Research) และ 2.การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ทั้งที่เป็นผู้ควบคุม นโยบายหรือมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการประมงทางทะเลต่าง ๆ และผู้ที่ปฏิบัติงานจริงของภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการประมง แรงงานต่างด้าวภาคการประมงเอง ตลอดจนผู้นำชุมชนและประชาชนที่อยู่ในเขตชุมชนของชาวประมงอาศัยอยู่ จำนวน 34 รายผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1.กฎหมายหลักที่ใช้สำหรับการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคประมงนั้น มี 7 ฉบับ หลักได้แก่พรก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560, พรบ.คุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562, พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541, พรก.การประมง พ.ศ. 2558, พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522, พรบ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551,และ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 รวมถึงคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเรื่องการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 2. ปัญหาและข้อจำกัดของการนำนโยบายภาครัฐไปใช้ในการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทย พบว่า 1) ด้านนโยบาย ยังขาดการวางแผนนโยบายระยะยาว และความต่อเนื่องในการจดัการแรงงานต่างด้าวภาคประมง 2) ด้านกฎระเบียบ/กฎหมาย ยังมีความเหลื่อมล้ำของการปรับใช้กฎหมาย ไม่มีความชัดเจน มีความซ้ำซ้อน และความไม่ยืดหยุ่นของตัวกฎหมาย รวมถึงการออกกฎหมายไม่มีกระบวนการศึกษาถึงผลกระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างละเอียดถี่ถ้วน 3) ด้านการบริหารจัดการ, การดำเนินการ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวกิจการประมงทะเลอยู่ในความรับผิดชอบหลายหน่วยงาน มีความซ้ำซ้อน ขาดการบูรณาการข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน 4) ด้านทรัพยากรทางการบริหารความขาดแคลนทรัพยากรทางด้านการบริหาร ทั้งบุคลากรที่มีไม่เพียงพอขาดทักษะทางด้านการสื่อสาร ภาษากับแรงงานต่างด้าวขาดเครื่องมือระบบตรวจสอบและอุปกรณ์ต่าง ๆ และ 5) ด้านปัจจัยภายนอก พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในภาคประมงเป็นจำนวนมากยากต่อการตรวจสอบของหน่วยงานรัฐ และ 3. แนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการแรงงานต่างด้าวภาคการประมงของประเทศไทยน้ัน ภาครัฐควรมีการกำหนดนโยบายในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับการจัดการในภาคประมงโดยเฉพาะลดจำนวนการใชแ้รงงานต่างด้าวโดยหันมามุ่งพัฒนาให้ธุรกิจภาคประมงสร้างแรงจูงใจแก่แรงงานชาวไทยมีความต้องการทำงานในภาคประมง รวมทั้งเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เร่งรัด ผลักดันให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบทะเบียนให้ได้ทั้งหมด โดยการยกเว้นโทษทางกฎหมายในความผิดเดิมของแรงงานต่างด้าวและมุ่ง ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่แรงงานต่างด้าวภาคประมงใหม่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4609
ISSN: 1906-506X
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic13n3p89-105.pdf509.98 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น