กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4580
ชื่อเรื่อง: การทดลองสร้างงานนาฏศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดการใช้กระบวนการละครแบบร่วมสร้าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An experimental study of contemporary dance based on devising theatre
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธ์
คำสำคัญ: นาฏศิลป์
ละคร
การแสดง
การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บทความวิจัยนี้เป็นการทดลองสร้างงานนาฏศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดการใช้กระบวนการ ละครแบบร่วมสร้างเพื่อสร้างตัวอย่างและกระตุ้นสร้างตัวอย่างและกระตุ้นให้นิสิตเกิดความรู้ความเข้าใจในวิธีการสร้างงานนาฏศิลป์ร่วมสมัย จนสามารถร่วมกันสร้างการแสดงชุด start โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนสิตในสาขาวิชานาฏศิลป์ร่วมสมัย จำนวน 7 คน ผ่านการทดลองฝึกปฏิบัติจากการทดลองสร้างงาน ประกอบไปด้วย 1) แบบฝึกหัดการสร้างงานที่เริ่มจากการหาแรงบัลดาลใจจาก งานศิลปะ เพลง หนังสือนิทานกลับมุม 2) แบบฝึกหัดการละลายพฤติกรรม 3) แบบฝึกหัดการสื่อสารทางด้านร่างกายโดยใช้ท่าเต้นจากทักษะ การเต้นที่นิสิตถนัด 4) แบบฝึกหัดการพูดเพื่อการสื่อสาร 5) แบบฝึกหัดด้นสดกับอุปกรณ์ และด้นสดการเคลื่อนย้ายพื้นที่และร่วมกันแก้ไขพัฒนาข้อบกพร่องรวมของนักแสดง ผลการวิจัยพบว่า เกิดตัวอย่างจากแบบฝึกหัดการทดลองสร้างการแสดงชุุด start ได้สำเร็จ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองผ่านกระบวนการละครแบบร่วมสร้าง แบ่งได้เป็นสองด้านคือ 1) ทักษะความถนัดจากการเคลื่อนไหวร่างกาย นิสิตสามารถใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาให้ตนเองเป็นนักเต้นที่มีคุณภาพได้โดยเฉพพาะนิสิตรูจักการปรับใช้พื้นที่บนเวทีผ่านการเต้นจากเทคนิคท่าเต้นของตนเอง เข้าใจการใช้ร่างกายจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้และสร้างทางเต้นที่่ซับซ้อน ท่าเต้นที่สื่อสารผ่านร่างกายได้ 2) ด้านความคิด นิสิตเริ่มเข้าใจวิธีการสร้างงานร่วมสมัยอย่างเป็นเหตุเป็นผลจากการพูดคุย ถาม ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการสร้างงานเป็นตัวของตัวเอง พููดในสิ่งที่ตนเองคิด ทั้งในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติอย่างเปิดเผย เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากประเด็นที่ศึกษาอย่างตรงไปตรงมา ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางความคิดที่มากขึ้น เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการละครแบบร่วมสร้าง เกิดสังคมประชสธิปไตย จากการแฝงกระบวนการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยในขั้นตอนการผลิตการแสดง อีกทั้งยังสร้างพลเมืองที่ดีมอบแก่สังคมในทางอ้อมอีกด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4580
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
art24n1p171-198.pdf1.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น