กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4557
ชื่อเรื่อง: บทวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Mdn) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (IQR) จากแบบวัดที่เป็นมาตรฐานประมาณค่าโดยการกำหนดน้ำหนักกับไม่กำหนดน้ำหนักให้สมาชิกในค่าคะแนนเดียวกัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of the median and inter-quartile range from a rating scale by assigning weights and without assigning weights to members of the same score
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
คำสำคัญ: คณิตศาสตร์สถิติ
ค่ามัธยฐาน
ค่าพิสัย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ค่ามัธยฐาน(Median) คือคะแนนลำดับที่กลางของข้อมูลชุดนั้น เป็นค่ากึ่งกลางที่จะเป็นตัวแทนที่แสดงว่ามีข้อมูลที่มากกว่าและน้อยกว่าคะแนนนั้นอยู่กึ่งหนึ่ง การหาค่ามัธยฐาน(Mdn) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์(IQR) สำหรับแบบวัดที่เป็นมาตรประมาณค่า(Rating scale) ไม่สามารถใช้สูตร Mdn แบบช่วงได้ ส่วนการหาโดยแจกแจงความถี่โดยทั่วไปจะไม่มีความแปรปรวน(Variance) หรือความแปรปรวน(Variance) ต่ำ การกำหนดน้ำหนักให้สมาชิกในค่าคะแนนเดียวกันเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถจะนำมาใช้ซึ่งจะทำให้ค่ามัธยฐาน(Mdn) ที่ได้มีค่าความแปรปรวน(Variance) ของผลการวัดตัวแปร(Variable)สูงขึ้น โดยมีขั้นตอนสำคัญคือ ตรวจสอบรอยคะแนนในแต่ละคะแนนของมาตรประมาณค่า(Rating scale)นั้นๆ จากนั้นให้พิจารณาตำแหน่ง มัธยฐาน(Q2) หรือ Q1 Q3 ที่ต้องการจะหาว่าอยู่ในช่วงคะแนนใด จึงหาน้ำหนัก(Weight)ของแต่ละความถี่ในช่วงคะแนนนั้นโดยใช้สูตร W(น้ำหนัก) = 1 / f (จำนวนความถี่ทั้งหมดในช่วงคะแนนนั้น) โดยขั้นตอนสุดท้ายหาค่ามัธยฐาน(Mdn) ด้วยสูตร Mdn = (f × Weight) + L( ขีดจำกัดล่างของชั้นก่อนหน้า) โดยวิธีการดังกล่าวจะทำให้ได้ค่ามัธยฐาน(Mdn) ที่มีความแปรปรวน(Variance) มากกว่าค่าที่หาโดยใช้การแจกแจงความถี่แบบเดิมโดยทั่วไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4557
ISSN: 0125-3212
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
edu32n1p1-13.pdf230.34 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น