กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4548
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorผาณิต ฤกษ์ยินดี-
dc.contributor.authorวัลลภ ใจดี-
dc.contributor.authorอลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ-
dc.date.accessioned2022-07-21T08:34:31Z-
dc.date.available2022-07-21T08:34:31Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4548-
dc.description.abstractบริบท การใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันแทนการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคลสำหรับแปลผลร้อยละการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นกระดูก ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจติดตามผล อาจเกิดความไม่แน่นอนในการแปลผล วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำรายบุคคลและค่าเฉลี่ยความแม่นยำของสถาบันในการจัดท่าสำหรับตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูกวิธีการ การวิจัยแบบตัดขวางที่รวบรวมข้อมูลผลการตรวจความหนาแน่นกระดูกที่ตรวจด้วยเครื่อง DXA ของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2557 จำนวน 120 ราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์แต่ละรายและค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน จากนั้นผู้วิจัยจะส่งแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลให้รังสีแพทย์เพื่อแปลผลการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นกระดูกของผู้มารับบริการตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูก จำนวน 120 ราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ความสอดคล้องของค่าความแม่นยำ ในการจัดท่าทั้งสองวิธีด้วยค่าร้อยละของความสอดคล้องและทดสอบนัยสำคัญด้วยสถิติ kappa analysis ผลการศึกษา ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันที่กระดูกสันหลังระดับบั้นเอว กระดูกต้นขาส่วนคอ กระดูกข้อสะโพกรวม และกระดูกข้อมือคือ ร้อยละ 3.20 ร้อยละ 2.91 ร้อยละ 2.73 และร้อยละ 3.01 ตามลำดับ ความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำในการจัดท่าทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันระหว่างนักรังสีการแพทย์ (p<0.05) ตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมมีความถูกต้องในการแปลผลมากที่สุด (ร้อยละ 95.2; 95%CI 89.9 - 100.0) รองลงมาคือกระดูกต้นขาส่วนคอ (ร้อยละ 80.6; 95%CI 70.8 - 90.4) ส่วนกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว (ร้อยละ 75.8; 95%CI 65.1 - 86.5) และกระดูกข้อมือ (ร้อยละ 77.4; 95%CI 67.0 - 87.8) มีความถูกต้องไม่สูงมากนัก สรุป จากการศึกษานี้พบว่าเมื่อใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน ซึ่งมาจากค่าเฉลี่ยของนักรังสีการแพทย์รายบุคคลภายในสถาบัน ในการแปลผลร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นกระดูก เปรียบเทียบกับการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล พบว่าตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมมีความถูกต้องในการแปลผลมากที่สุด และพบว่าร้อยละของความสอดคล้องมีที่ตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมเพียงตำแหน่งเดียว จึงสรุปได้ว่าค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันไม่มีความสอดคล้องกับค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน แทนการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคลสำหรับประกอบการแปลผลการตรวจติดตามความหนาแน่นกระดูกได้th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการบันทึกภาพด้วยรังสีทางการแพทย์th_TH
dc.subjectกระดูก -- การบันทึกภาพด้วยรังสีth_TH
dc.titleความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล และค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันสำหรับการตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูกth_TH
dc.title.alternativeCorrelation between the individual LSC and the institute average LSC for serial bone mineral density assessmentsth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.issue1th_TH
dc.volume8th_TH
dc.year2564th_TH
dc.description.abstractalternativeObjective: To evaluate the correlation between an individual LSC average and an institutual LSC for serial bone mineral density assessments. Design: Between June and September 2014, a cross-sectional study was conducted using DXA scans of 120 bone mineral density results from participants at Burapha University Hospital. We analyzed the individual LSC and the institute LSC averages. We then sent the collected data for interpretation by radiologists to determine the percent of change in bone mineral density across the 120 samples. We evaluated the correlation of both individual and institutional LSC with a correlation percentage and kappa analysis. Result: The institute average LSC at lumbar spine, femoral neck, total hip and distal 1/3 radius were 3.20%, 2.91%, 2.73%, and 3.01%, respectively. The correlation of two methods between four technologists was different (p<0.05). The density of the total hip showed the highest accuracy of interpretation, with the institute average LSC (95.2%; 95%CI 89.9 - 100.0), followed by the femoral neck results (80.6%; 95%CI 70.8 - 90.4). The lumbar spine and forearm results showed moderate accuracy (75.8%; 95%CI 65.1 - 86.5 and 77.4%; 95%CI 67.0 - 87.8). Conclusions: The use of the institutional LSC average resulted in an uncertain interpretation because the correlation percentage was different across the four technologists and all measurement sites. If the institute has many technologists, make sure that the institutional LSC average presents more than 80% accuracy of interpretation in all measurement sites, before using the institutional average LSC, instead of the individual LSC.th_TH
dc.journalบูรพาเวชสารth_TH
dc.page28-40th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med8n1p28-40.pdf244.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น