กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4548
ชื่อเรื่อง: ความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล และค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันสำหรับการตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Correlation between the individual LSC and the institute average LSC for serial bone mineral density assessments
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผาณิต ฤกษ์ยินดี
วัลลภ ใจดี
อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ
คำสำคัญ: การบันทึกภาพด้วยรังสีทางการแพทย์
กระดูก -- การบันทึกภาพด้วยรังสี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บริบท การใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันแทนการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคลสำหรับแปลผลร้อยละการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นกระดูก ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจติดตามผล อาจเกิดความไม่แน่นอนในการแปลผล วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำรายบุคคลและค่าเฉลี่ยความแม่นยำของสถาบันในการจัดท่าสำหรับตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูกวิธีการ การวิจัยแบบตัดขวางที่รวบรวมข้อมูลผลการตรวจความหนาแน่นกระดูกที่ตรวจด้วยเครื่อง DXA ของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2557 จำนวน 120 ราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์แต่ละรายและค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน จากนั้นผู้วิจัยจะส่งแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลให้รังสีแพทย์เพื่อแปลผลการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นกระดูกของผู้มารับบริการตรวจติดตามผลความหนาแน่นกระดูก จำนวน 120 ราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ความสอดคล้องของค่าความแม่นยำ ในการจัดท่าทั้งสองวิธีด้วยค่าร้อยละของความสอดคล้องและทดสอบนัยสำคัญด้วยสถิติ kappa analysis ผลการศึกษา ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันที่กระดูกสันหลังระดับบั้นเอว กระดูกต้นขาส่วนคอ กระดูกข้อสะโพกรวม และกระดูกข้อมือคือ ร้อยละ 3.20 ร้อยละ 2.91 ร้อยละ 2.73 และร้อยละ 3.01 ตามลำดับ ความสอดคล้องระหว่างค่าความแม่นยำในการจัดท่าทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันระหว่างนักรังสีการแพทย์ (p<0.05) ตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมมีความถูกต้องในการแปลผลมากที่สุด (ร้อยละ 95.2; 95%CI 89.9 - 100.0) รองลงมาคือกระดูกต้นขาส่วนคอ (ร้อยละ 80.6; 95%CI 70.8 - 90.4) ส่วนกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว (ร้อยละ 75.8; 95%CI 65.1 - 86.5) และกระดูกข้อมือ (ร้อยละ 77.4; 95%CI 67.0 - 87.8) มีความถูกต้องไม่สูงมากนัก สรุป จากการศึกษานี้พบว่าเมื่อใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน ซึ่งมาจากค่าเฉลี่ยของนักรังสีการแพทย์รายบุคคลภายในสถาบัน ในการแปลผลร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นกระดูก เปรียบเทียบกับการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล พบว่าตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมมีความถูกต้องในการแปลผลมากที่สุด และพบว่าร้อยละของความสอดคล้องมีที่ตำแหน่งของกระดูกข้อสะโพกรวมเพียงตำแหน่งเดียว จึงสรุปได้ว่าค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบันไม่มีความสอดคล้องกับค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคล ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าเฉลี่ยของสถาบัน แทนการใช้ค่าความแม่นยำในการจัดท่าของนักรังสีการแพทย์รายบุคคลสำหรับประกอบการแปลผลการตรวจติดตามความหนาแน่นกระดูกได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med8n1p28-40.pdf244.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น