กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4547
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ต่ออาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาต สัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of aroma therapy massage oil (pa-ta-vee oil formulate) for muscle pain and tension in patients with myofascial pain syndrome
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรัมพา สุวรรณรัตน์
กายแก้ว คชเดช
ภัชรินทร์ กลั่นคูวัฒน์
คำสำคัญ: ปวดกล้ามเนื้อ -- การรักษา
การแพทย์แผนไทย
น้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บทนำ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มักก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกาย และความไม่สบายใจ ส่งผลให้ต้องพึ่งการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา และกระทบต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิต วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในการบรรเทาอาการปวดและตึงกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง (ภาวะที่มีอาการปวดและตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบัก หลังส่วนบน อาจมีอาการมึนงงและเวียนศีรษะร่วมด้วย) และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ในผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุ(ธาตุดิน) เป็นธาตุเจ้าเรือนกับผู้ป่วยที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วิธีการศึกษา ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวด และตึงกล้ามเนื้อจากโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือผู้ที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือน จำนวน 10 คน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือน ได้แก่ อาโปธาตุ วาโยธาตุ และเตโชธาตุ จำนวน 10 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) เพื่อทาในเวลาเช้าและเย็น ครั้งละ 1 มิลลิลิตร ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการรักษาผู้ป่วยได้รับการประเมินระดับความปวดด้วย visual rating scales และได้รับการประเมินความตึงของกล้ามเนื้อด้วยการวัดองศาการเคลื่อนไหวผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ทาน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) มีอาการปวดลดลงและมีองศาการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างธาตุเจ้าเรือน พบว่าน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดระดับความปวดของผู้ป่วยที่มีปถวีธาตุเป็นธาตุเจ้าเรือนได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีธาตุอื่นๆ เป็นธาตุเจ้าเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนองศาการเคลื่อนไหวพบว่า ไม่แตกต่างกัน สรุป การทาด้วยน้ำมันสุวคนธ์ปรับธาตุ (สูตรน้ำมันปถวีธาตุ) ช่วยลดความปวดกล้ามเนื้อ และตึงกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หรือ 5 หลัง โดยผู้ป่วยสามารถใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการปวดด้วยตนเอง และช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรักษาพยาบาล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4547
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med8n1p1-16.pdf213.67 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น