กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4542
ชื่อเรื่อง: ผลของกลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะของแพทย์ในแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An effective strategy to reduce the overprescription of antibiotics by clinicians in the hospital’s outpatient and emergency departments
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรพันธุ์ ศิริบริรักษ์
จุฑามาศ สุวรรณเลิศ
ผกาพรรณ ดินชูไท
ฉวีรัตน์ ชื่นชมกุล
คำสำคัญ: ยาปฏิชีวนะ
การใช้ยา
โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บริบท โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ เพื่อทราบผลของกลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมของแพทย์ต่ออัตราการสั่งยาปฏิชีวนะที่แผนกผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉินใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Upper Respiratory Tract Infection; URI) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis; AGE) และการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ วิธีการศึกษา กลวิธี ได้แก่ การอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ การนำแผ่นพับให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยวางไว้ที่โต๊ะตรวจและการแจ้งเตือนด้วยโปรแกรมตรวจโรค เมื่อมีการสั่งยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เก็บข้อมูลเปรียบ เทียบในช่วง 3 เดือน ก่อนและหลังจากที่เริ่มกลวิธี ผลการศึกษา กลวิธีดังกล่าวสามารถลดการสั่งยาปฏิชีวนะใน URI, AGE และการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสด ลงได้ร้อยละ 9.39 (p < 0.001, 95%CI 7.48-11.31), 7.03 (p < 0.001, 95%CI 3.72-10.33) และ 2.60 (p = 0.020, 95%CI 0.40-4.80) ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างของอัตราการกลับมาพบแพทย์ซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง และอัตราการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วย URI รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการเกิดแผลติดเชื้อในผู้ป่วยบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วย AGE พบการเพิ่มขึ้นของอัตราการกลับมาแพทย์ซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง ร้อยละ 0.61 (p = 0.025, 95%CI 0.08-1.13) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของอัตราการนอนโรงพยาบาล ในผู้ป่วย AGE สรุป การใช้กลวิธีเพื่อลดพฤติกรรมการสั่งยาปฏิชีวนะของแพทย์มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการสั่งยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และการใช้ยาปฏิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4542
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med8n2p26-41.pdf322.03 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น