กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/453
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสถานการณ์เด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจาก เอช ไอ วี / เอดส์ในประเทศไทยและรูปแบบความช่วยเหลือ: กรณีศึกษาในภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: HIV/AIDS orphans and vulnerable children and supporting system in Thailand : situation analysis : a case study in the Eastern region, Chon Buri province Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจรี ไชยมงคล
ยุพิน ชินสงวนเกียรติ
มานพ เชื่อมทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคเอดส์ในเด็ก - - การดูแล - - วิจัย
โรคเอดส์ในเด็ก - - ชลบุรี - - วิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาสถานการณ์ จำนวน สภาพความเป็นอยู่ การเจริญเติบโต และการสนับสนุนด้านต่าง ๆ รวมทั้งคุณภาพชีวิตและคุณภาพการดูแลเด็กกำพร้าจากเอชไอวี/เอดส์ ในเขตภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลเพื่อสำรวจสถานการณ์ จำนวนเด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากบิดามารดาติดเชื้อเอไอวี โดยการส่งแบบสำรวจทางไปรษณีย์สอบถามข้อมุลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ข้อมูลคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมกลุ่มย่อยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และข้อมูลปริมาณจากการสังเกต สัมภาษณ์ และสอบถาม ผุ้ดุแลและตัวเด็กเอง จำนวน 210 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการงวิจัยประกอบด้วยแบบสัมรวจที่ส่งทางไปรษณีย์ แนวคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกและประชุมกลุ่มย่อย แบบวัดคุณภาพชีวิตและคุณภาพการดูแล แบบประเมินความฉลาดทางอารณ์ สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี, 6-11 ปี และ 12 -18 ปี และแบบวัดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น การวิเคราะห์ข้อมุลคุณภาพใช้การวิเคราะห์ Content analysis ข้อมูลปริมาณใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพิสัย ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดชลบุรี มีจำนวนเด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับผลกระทบมากเป้นอันดับหนึ่งในภาคตะวันออก รองลงไปคือจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นข้อมูลสะสมจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในแต่ละปี ปัญหาและความต้องการของเด็กกำพร้าพบว่า เด็กกำพร้ามีความต้องการจำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านการยอมรับจากชุมชน และ 4) ด้านสุขภาพ ผู้ดูแลเด็กมีอายุเฉลี่ย 42.7 ปี ส่วนใหญ่เป็นมารดา รองลงไปคือ ยาย และย่า สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 4,700 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เด็กมีอายุเฉลี่ย 10.3 ปี เป็นเด็กชายและเด็กหญิงเท่ากัน ร้อยละ 90 กำลังสึกษาอยู่ ร้อยละ 96 มีสุขภาพปกติ การเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความสูงเป็นปกติประมารร้อยละ 70 ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี มีเพียงร้อยละ 67 ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน เด็กมีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์สูง ยกเว้นด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คุณภาพการดูแลเด็กอยู่ในเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างไปทางสูง ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กกำพร้าทุกกลุ่มอายุ พบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างไปทางต่ำทั้งดดยรวม และรายด้านและเด็กกำพร้าที่เป็นวัยรุ่นประมาณร้อยละ 17-50 มีภาวะซึมเศร้า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเด็กกำพร้าจากโรคเอดส์ยังคงมีความต้องการกรช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การดูแลสุขภาพ การเข้าใจ และการยอมรับจากชุมชนและสังคม การมีผู้อุปการะ รวมทั้งผู้ดุแลเด็กต้องการการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและข้อมูลข่าวสาร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/453
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_035.pdf11.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น