กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4515
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเล ของผู้ประกอบการแนวชายฝั่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Related to Self-efficacy and Tourism Marine Assisting Accidental Victims Behaviors among Coastal Entrepreneur in Mueang District, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชรัญญากร วิริยะ
ตระกูลวงศ์ ฦๅชา
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวทางทะเล
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการตามแนวชายฝั่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 345 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ประกอบการตามแนวชายฝั่ง ประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุ และพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .86 .78 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเลจำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 75.94 มีจำนวนประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุเฉลี่ย 3.29 (SD= 2.81) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ประกอบการตามแนวชายฝั่งอยู่ในระดับน้อย (M = 1.19, SD= 0.61) และเคยมีพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ 243 คน คิดเป็นร้อยละ 70.43 โดยมีพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอยู่ในระดับน้อย (M = 1.37, SD = 0.71) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับน้อยกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .22, p< .001) และมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับน้อยกับพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.16, p< .05) ส่วนประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.47, p<.001; r= 41, p<.001 ตามลำดับ) สำหรับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.60, p<.001) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 25.77, p<.001; F= 8.39, p< .001ตามลำดับ) กลุ่มผู้ประกอบการที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 4.41, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยเน้นการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4515
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus53-66.pdf280.45 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น