กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4497
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความต้องการและแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of needs and motivation for routine to research (R2R) developing of academic supporting staff in Faculty of Science Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกียรติษฎา ภูมิเพ็ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
แรงจูงใจในการทำงาน
การทำงาน - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “การศึกษาความต้องการและแรงจูงใจในการทางานวิจัยสถาบันของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา” ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการ และแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบัน เพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมของผู้บริหารในการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบัน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 63 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างรายคู่ใช้วิธีการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี LSD. และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการทำงานวิจัยสถาบัน ภาพรวมและทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง (= 2.64,  = 0.83) ความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน ภาพรวมและทุกข้ออยู่ในระดับมาก (= 3.88, = 0.80) เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า ต้องการให้คณะวิทยาศาสตร์ส่งเสริม หรือสนับสนุนให้ทำงานวิจัยสถาบัน เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ ต้องการได้รับการพัฒนาความรู้ ประสบการณ์หรือทักษะในการทำวิจัยสถาบัน และต้องการได้รับการพัฒนาความรู้ในการเขียน โครงการวิจัย ตามลำดับ แรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากร ภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 3.86, = 0.48) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากงานที่ได้รับ มอบหมาย มีค่าเฉลี่ยมากเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อน ร่วมงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรู้สึกมั่นคงในอาชีพ และความมั่นคง ด้านสภาพทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสถานะทางอาชีพและความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ตามลำดับ ผลการวิเคระห์ความต้องการในการทางานวิจัยสถาบันของบุคลากร จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีเพศ อายุ ประเภทบุคลากร สังกัด ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบันไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันกับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน พบว่า ภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ เห็นว่าคณะวิทยาศาสตร์ควรจัดอบรม เสวนา หรือให้ความรู้ในการทำวิจัยสถาบันแก่บุคลากรอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาความต้องการและสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยสถาบัน เป็นอันดับที่ 1 ควรพิจารณานำผลงานไปประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยให้ค่าน้ำหนักที่สูง เนื่องจากต้องมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และใช้เวลาในการผลิตผลงานค่อนข้างมาก และเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำผลงานควรสนับสนุนให้ได้เงินประจำตำแหน่งชำนาญการ ซึ่งเห็นว่าสำคัญมากในการสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยสถาบัน เป็นอันดับที่ 2 และควรมีแนวปฏิบัติหรือนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการทำวิจัยสถาบัน เพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เป็นอันดับที่ 3 ตามลำดับ
รายละเอียด: โครงการวิจัยทุนสนับสนุนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R) มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบประมาณเงินอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4497
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_226.pdf3.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น