กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4495
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเศษวัสดุเซรามิกอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling ด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Upcycling Product Design from Waste Ceramic Materials through Environmental Design Concept
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฝนทิพย์ วรรธนะศิรินทร์ รังสิตสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การออกแบบผลิตภัณฑ์
วัสดุเซรามิก
การออกแบบผลิตภัณฑ์ - - แง่สิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: อุตสาหกรรมเซรามิกเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมาตั้งแต่ในอดีต และในทุก ขั้นตอนของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทั้งสิ้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผ่านกระบวนการเผาเคลือบแล้วนั้นยากต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพราะจำเป็นต้องผ่านกระบวนการที่ใช้พลังงานและเสียค่าใช้จ่ายสูง งานวิจัยนี้จึงมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนผ่านกลไกการพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเศษวัสดุเซรามิกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling ด้วย แนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และแนวคิด Upcycling ที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเซรามิก 2) เพื่อศึกษาและทดลองเทคนิคในการแปรรูปเศษวัสดุเซรามิกที่จะนำมาซึ่งข้อค้นพบเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย ของเทคนิคตาง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling และ 3) เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ จากเศษวัสดุเซรามิกด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นทางเลือกใหม่ ชะลอการเกิดขยะ และสามารถเพิ่มมูลคาของเศษวัสดุเซรามิกได้ จากการศึกษาพบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมทที่ใช้เศษวัสดุเซรามกิเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต ผ่านกระบวนการที่ทำให้มีคุณภาพและประโยชน์เพิ่มมากขึ้น แนวคิดที่สอดคล้องกับการ upcycle ซึ่งการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความสวยงาม และคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย โดยใช้แนวคิดสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) หลักการ 4R (Reduce, Reuse, Recycle และ Repair) 2) การยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์และวัสดุ และ 3) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน และในงานวิจัยนี้มีผลการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 5 ชิ้น ในประเภทผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องกับการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้นแบบประกอบด้วย ที่ดริปกาแฟ จำนวน 2 รูปแบบถาดรอง จำนวน 1 รูปแบบ และ เก้าอี้ จำนวน 2 รูปแบบ ด้วยการเลือกเทคนิคจากทดลองประสาน 2 วัสดุ โดยการร้อย สาน และเซาะร่องไม้ และการประสานเศษเซรามิกและไม้ด้วยยางรัก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน เกิดรูปแบบที่น่าสนใจ เป็นการผสมผสานการใช้ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ อีกทั้ง เป็นการจำกัดหรือลดการใช้วัสดุให้น้อยที่สุดในงานออกแบบ เนื่องจากการใช้วัสดุหลายประเภททำให้กระบวนการทำลาย คัดแยกขยะ ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมผลจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling จากเศษวัสดุเซรามิกด้วยแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นทางเลือกใหมให้กับผู้ใช้งานที่ต้องการความแปลกใหม่ รูปแบบที่แตกต่าง เป็นการชะลอการเกิดขยะ และสามารถเพิ่มมูลค่าของเศษเซรามิกเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตได้ ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่กำหนดไว้
รายละเอียด: โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ส่วนงาน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4495
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_224.pdf29.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น