กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4489
ชื่อเรื่อง: การจัดการเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Innovational Management of The Community-based Enterprises in the Area of Thailand Eastern Economic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นพวรรณ พึ่งพา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
วิสาหกิจชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องการจัดการเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ วิเคราะห์การจัดการเชิงนวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชน ศึกษาอิทธิพลของการจัดการเชิงนวัตกรรมที่มีต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน และเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงผสม (Mixed-method design) ระหว่างเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เชิงปริมาณเก็บแบบสอบถามจากสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จำนวน 342 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและตัวแปรเชิงอนุมาน ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Multiple linear regression analysis) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (Coefficient of Determination : R2) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และกลุ่มตัวอย่างจากบุคคลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ประธานวิสาหกิจชุมชนที่บริหารกิจการและมีความยั่งยืน และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีการจัดการเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการจัดการเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ด้านพฤติกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 ตามลำดับ และอยู่ในระดับปานกลาง อีก 3 ดังนี้ ด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ด้านการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 และด้านกลยุทธ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 ตามลำดับ และวิสาหกิจชุมชนมีการจัดการเชิงนวัตกรรม ในการสร้างสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านการสร้างนวัตกรรมและการต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 และอยู่ในระดับปานกลาง อีก 3 ด้าน ดังนี้ด้านการสร้างความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.27 รองลงมาคือ ด้านการลดต้นทุน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 และด้านมีความยืดหยุ่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.18 ตามลำดับ
รายละเอียด: สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4489
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_218.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น