กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4452
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of Government Policy on Land Allocation in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สกฤติ อิสริยานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: การจัดสรรที่ดิน
ที่ดินเพื่อการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และนำเสนอแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาในการดำเนินนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดชลบุรี งานวิจัยชิ้นนี้เป็น การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการลงพื้นที่สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า บริบทที่ส่งผลต่อนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ประกอบไปด้วย ปัญหาการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาของการจัดการทรัพยากรที่ดินทำกินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและผู้ที่ยากจน ภายใต้รัฐบาล คสช. การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า พบว่า มีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ ด้านบุคลากรและงบประมาณ ซึ่งพบว่า ในด้านบุคลากรได้มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนินนโยบาย โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาผลักดันนโยบายให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบไปด้วย คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดชลบุรีและคณะทำงานนโยบายที่ดินจังหวัดชลบุรี ด้านจัดหาที่ดิน ด้านจัดที่ดิน ด้านส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ สำหรับงบประมาณในการขับเคลื่อนนโยบาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นงบดำเนินงานปกติของแต่ละหน่วยงาน ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่งบประมาณนั้นก็ยังไม่ทันต่อสถานการณ์และความต้องการในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนในการวิเคระห์กระบวนการ จะมีกระบวนประกอบด้วยด้านการจัดหาที่ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่ยึดคืนจากนายทุน ด้านการจัดที่ดินให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการในลักษณะแปลงรวม (สหกรณ์) ไม่ให้กรรมสิทธิ์ โดยเกษตรกรจะได้รับสิทธิในขนาดพื้นที่ 5 + 1 ไร่ มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน พื้นที่แปลงรวมของสมาชิกสหกรณ์และพื้นที่แหล่งน้ำ โดยผู้ได้รับการคัดเลือกมีจำนวนทั้งสิ้น 89 คน มีการสงเสริมพัฒนาอาชีพ ด้านการตลาด และการแปรรูปผลผลิต สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มและมีระบบการออมทรัพย์ ซึ่งในกระบวนการดำเนินนโยบายนั้นมีความเหมาะชัดเจนในกระบวนการ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ และขาดการบูรณา การหน่วยงานต่าง ๆ และผลการดำเนินนโยบาย พบว่า สามารถยึดคืนที่ดินที่ถือครองอย่าง ผิดกฎหมายและนำมาจัดสรรให้เกษตรกร ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่ม เกษตรกรผู้ยากไร้ เกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้ได้รับผลักดันออกจากป่า สามารถมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของตนเอง มีความเป็นอยู่และรายได้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น สำหรับข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ประกอบไปด้วย การวางกลไกและบทบาทของเครือข่ายภาคีในการขับเคลื่อนโครงการ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการเตรียมคนและพัฒนาคนก่อนเข้าสู่พื้นที่ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมกับชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเกษตรกร สนับสนุนให้เกิดทุนชุมชนเพื่อความยั่งยืน และการมีศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
รายละเอียด: สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4452
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_149.pdf6.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น