กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4446
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Analysis for Provincial and Provincial Custer’s Integrated Administration Policy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุรัตน์ อนันทนาธร
มหาวิทยาลัยบูรพา. รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารจัดการ
จังหวัด - - การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ กลไกการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และผลการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความยั่งยืน วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงผสม การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การศึกษาและวิเคราะห์จากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์จากแบบสอบถามที่เก็บจากประชากรที่เป็นคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ของจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จำนวน 117 คน ผลการศึกษาพบว่านโยบายการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเป็นนโยบายที่ต้องการปฎิรูปการบริหารราชการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ มีการบริหารเชิงยุทธศาสตร์และบูรณการการทำงานของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัด ให้เป็นไปทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่การวางแผน การบริหารโครงการ และติดตามผลโครงการ (One Plan One Target) ขับเคลื่อนนโยบายดาเนินการในรูปคณะกรรมการ 3 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการระดับนโยบาย (กนจ.) คณะกรรมการระดับกลุ่มจังหวัด (กกบจ.) และคณะกรรมการระดับจังหวัด (กบจ.) มีการปฎิรูปกฏหมายการจัดทำแผนและงบประมาณ เพื่อให้อำนาจจังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถจัดทำแผนพัฒนาด้วยตนเองเสนอและโครงการของบประมาณตรงต่อรัฐบาลโดยไม่ต้องผ่านกระทรวงการบริหารในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดบริหารในรูปคณะกรรมการ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการในลักษณะ CEO และมีคณะกรรมการมาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ส่วนราชการภูมิภาค รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการนานโยบายไปปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2 อันดับแรก ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจของหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับแผนงานบูรณาการ และการให้ความสาคัญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่ถูกต้อง รองลงมาได้แก่ ความรู้ความสามารถ ทักษะ ความชำนาญ ของผู้ปฎิบัติในการทำงานแบบบูรณาการ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติค่าเฉลี่ยต่าที่สุดคือ รางวัลหรือสิ่งตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและความเหมาะสมกับปริมาณงานและความรับผิดชอบ สำหรับผลของการนำนโยบายการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการไปปฏิบัติ พบว่าโดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านประสิทธิผล (การบรรลุเป้าหมายเชิงปฏิบัติ) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 รองลงมาคือ ด้านความยั่งยืนและการขยายต่อ (การบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 และด้านประสิทธิภาพ (ความร่วมมือของหน่วยปฏิบัติ) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 ตามลำดับ
รายละเอียด: งานวิจัยฉบับนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากทุนอุดหนุนการทำวิจัย งบประมาณเงินรายได้ของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4446
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_142.pdf2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น