กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4438
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสลิล ชั้นโรจน์
dc.contributor.authorวิไลวรรณ พวงสันเทียะ
dc.contributor.authorศิริวรรณ ชูศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลth
dc.date.accessioned2022-06-16T06:37:01Z
dc.date.available2022-06-16T06:37:01Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4438
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th_TH
dc.description.abstractวิธีการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับพิษจากแมงกะพรุนในปัจจุบันอาศัยข้อมูลงานวิจัยจากการทดสอบในแมงกะพรุนที่พบในต่างประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างของชนิดของพิษและลักษณะของเข็มพิษจากแมงกะพรุนที่พบในประเทศไทย โดยทะเลในเขตจังหวัดชลบุรีจะพบแมงกะพรุนหนัง (Rhopilema hispidum) บ่อยที่สุดเพราะเป็นแมงกะพรุนที่เข้ามาตามฤดูมรสุม ในขณะที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีแมงกะพรุนไฟ (Sanderia malayensis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนไฟที่มีลักษณะสวยงาม อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีการศึกษาวิจัยถึงพิษและการถอนพิษของแมงกะพรุนทั้งสองขนิดนี้ เพื่อให้สามารถปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับพิษจากแมงกะพรุนดังกล่าวได้ถูกต้องและทันท่วงที ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความรุนแรงของพิษของแมงกะพรุนทั้งสองชนิดโดยวิเคราะห์ร้อยละการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง และทดสอบว่าสารสกัดจากผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-capres) หรือสารเคมีอื่น ๆ มีส่วนช่วยในการถอนพิษแมงกะพรุนดังกล่าวหรือไม่ จากการศึกษาโดยใช้หนวดแมงกะพรุนบดละเอียดพบว่าหนวดแมงกะพรุนไฟมีฤทธิ์ในการทำให้เม็ดเลือดแดงแตกมากกว่าหนวดแมงกะพรุนหนังโดยมีค่าความหนาแน่นที่ทำให้เม็ดเลือดแตงแตกครึ่งหนึ่ง (EC50) ที่ 13.2 และ 218.8 mg-tentacle/ml ตามลำดับ เมื่อทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากใบผักบุ้งทะเลและสารเคมีบางชนิดต่อการถอนพิษที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและการป้องกันการแตกของกะเปาะเข็มพิษแมงกะพรุน ผู้วิจัยพบว่า น้ำคั้นจากใบผักบุ้งทะเล สารสกัดจากใบผักบุ้งทะเล น้ำส้มสายชูกลั่น และแทนนิน มีฤทธิ์ในการถอนพิษแมงกะพรุน ในขณะที่น้ำคั้นจากใบผักบุ้งทะเล สารสกัดจากใบผักบุ้งทะเล น้ำส้มสายชูกลั่น แคลเซียม EDTA และแทนนิน มีฤทธิ์ในการลดอัตราการแตกของกะเปาะเข็มพิษแมงกะพรุนหนังในสารละลาย แต่มีเพียงสารสกัดจากใบผักบุ้งทะเล แคลเซียม และน้ำส้มสายชูกลั่น เท่านั้นที่ป้องกันการแตกของกะเปาะเข็มพิษแมงกะพรุนหนังบนผิวหนังเทียมที่เลียบแบบการปฐมพยาบาลในสถานการณ์จริงได้ ในขณะที่แอลกอฮอล์และเหล้าขาวนอกจากจะเพิ่มฤทธิ์ของพิษแมงกะพรุนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการแตกของกะเปาะเข็มพิษแมงกะพรุนเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้น ดังนั้นในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับพิษแมงกะพรุนโดยการใช้น้ำส้มสายชูกลั่นจึงเป็นแนวทางการปฐมพยาบาลที่เหมาะสมแล้ว นอกจากนี้การพัฒนาสารสกัดจากผักบุ้งทะเลเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลจะช่วยให้การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษแมงกะพรุนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectแมงกะพรุนหนังth_TH
dc.subjectแมงกะพรุนไฟth_TH
dc.subjectผักบุ้งทะเลth_TH
dc.subjectการปฐมพยาบาลth_TH
dc.titleผลของสารสกัดจากผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) และสารเคมีที่ใช้ ในการปฐมพยาบาลบางชนิดต่อการปล่อยเข็มพิษของแมงกะพรุนหนัง (Rhopilema hispidum) และแมงกะพรุนไฟ (Sanderia malayensis)th_TH
dc.title.alternativeEffects of extracts of Ipomoea pes-caprae and other topical first-aid chemicals on nematocyst discharge of Rhopilema hispidum and Sanderia malayensisen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsalil@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailwilaiwanp@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsiriwanc@buu.ac.thth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeCurrent first-aid practice for patients suffering from jelly-fish toxin in Thailand is primarily relied on outside jelly-fish research. These informations may not apply to endogenous jelly-fish toxin in terms of toxicology and cnidocyte anatomy. One of the most well-known jelly fish found in the sea shore of Chonburi province is edible jelly fish (Rhopilema hispidum), commonly showing up during monsoon season. Furthermore, there are aquarium glowing fire jelly fishes (Sanderia malayensis) cultivated in the institute of marine science in Chonburi province. However, the toxicology of their toxins and antidotes have not been described clearly. To be able to administer a proper and swift first-aid response to patients suffering from these jelly-fish venoms, we aimed to study the severity of their toxins against hemolysis of red blood cells and test the effect of sea morning glory (Ipomoea pes-capres) extract and other chemicals on jelly-fish venom neutralization. Results indicated that fire jelly-fish tentacles had a potent hemolytic effect on procine red blood cells compared to a mild hemolytic effect caused by edible jelly-fish tentacles as shown by the smaller half maximum effective concentration value (EC50) of 13.2 and 218.8 mg/ml, respectively. We observed that fresh sea moning-glory juice, sea morning-glory extract, distilled vinegar, and tannin were able to effectively neutralize jelly-fish hemolytic toxin. Moreover, sea moning-glory juice, sea morning-glory extract, distilled vinegar, calcium, EDTA and tannin were capable of reducing edible jelly-fish nematocyst discharge in the solution. However, only sea morning-glory extract, calcium solution and distilled vinegar had protective effects on edible jelly-fish nematocyst discharge induced by sonication on artificial skin mimicking the first-aid application in the real situation. Interestingly, not only ethanol and vodka enhanced the hemolytic effect of jelly-fish toxin, but also increased the nematocyst discharge induced by sonication. Therefore, we encourage to continue using distilled vinegar as the first-aid practice for patients suffering from jelly-fish toxin. Besides, sea morning-glory extract is proved to be a potent remedy for patients suffering from jelly-fish toxin that could develop into a new medicine in the future.en
dc.keywordสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_135.pdf1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น