กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4415
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบยา 0.05% ออกซีเมทาโซลีนทางจมูก กับยา 3% อีฟีดรีนทางจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูก : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparison of intranasal 0.05% oxymetazoline and intranasal 3% ephedrine for reducing nasal congestion : a double-blind randomized controlled trial
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ญมาศ ธีระวณิชตระกูล
นริศ เจียรบรรจงกิจ
ธนวิทย์ อินทรารักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ยา - - การใช้ยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภูมิหลัง: มียาหลายชนิดที่ใช้ลดอาการคัดจมูกโดยมีทั้งชนิดรับประทานและพ่นจมูก ยาแบบพ่นจมูกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม beta phenylethylamime derivatives และ midazoline derivatives และยังไม่มีรายงานเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาสองกลุ่มนี้ในการลดอาการคัดจมูก วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบยาพ่นจมูกระหว่าง 0.05% ออกซีเมทาโซลีนกับยา 3% อีฟีดรีน ในการลดอาการคัดจมูก วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง ในผู้ป่วยจำนวน 84 ราย อายุระหว่าง 18 60 ปี ที่มารับการตรวจที่คลินิก หู คอ จมูก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2563 โดยการวัด peak nasal inspiratory flow (PNIF) ก่อนและหลังใช้ยาพ่นจมูก 10 นาที และวัดระดับความรู้สึกโล่งจมูกด้วย visual analogue scale (VAS) ก่อนและหลังใช้ยาพ่นจมูก 10, 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t Test แบบอิสระ ผล: ระดับ PNIF ก่อนและหลังพ่นยา ทั้งกลุ่มที่พ่น 0.05% ออกซีเมทาโซลีนและยา 3%อีฟีดรีน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.005, 95% CI : 49.74, 26.45 และ p value < 0.005, 95% CI : 50.72, 31.42, ตามลาดับ) เช่นเดียวกับระดับความรู้สึกโล่งจมูก (VAS) ก่อนและหลังพ่นยา ทั้งกลุ่มที่พ่น 0.05% ออกซีเมทาโซลีน และยา 3% อีฟีดรีน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.005, 95% CI : 1.523, 2.287 และ p value < 0.005, 95% CI : 2.656, 3.535 ตามลำดับ) ยาทั้ง 2 ชนิดสามารถเพิ่มระดับความโล่งของจมูกด้วยการวัดค่า PNIF ที่ 10 นาทีได้แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผลการใช้ยาทั้ง 2 ชนิด (p value = 0.847, 95% CI: 19.9, 24.2) สรุป: ยาพ่นจมูกทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิผลในการลดอาการคัดจมูกได้ไม่แตกต่างกัน แพทย์ผู้รักษาสามารถพิจารณาเลือกยาชนิดใดชนิดหนึ่งได้โดยอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นประกอบ
รายละเอียด: งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เลขที่สัญญา ๐๑๐/๒๕๖๓
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4415
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_112.pdf1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น