กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4378
ชื่อเรื่อง: แนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for the development of the elderly allowance payment system in the area of local administrative organization of Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง เรื่อง แนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่งเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี และประการที่สาม เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบไปด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งการศึกษาเชิงปริมาณเป็นการแจกแบบสอบถามโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงใน 5 เขตอำเภอ 8 เขตเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 390 คน และการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานกองคลังและกองสวัสดิการสังคมของเทศบาลตำบล จำนวนทั้งหมด 16 คน ผลการศึกษา พบว่า ในด้านข้อมูลเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของประชาชนผู้สูงอายุเกี่ยวกับระบบ การจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ ด้านการลงทะเบียน รองลงมาคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพ ตามลำดับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากเทศบาลมีการใช้ช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลายช่องทาง เช่น เสียงตามสายของชุมชน กลุ่มไลน์แอพลิเคชั่นของชุมชนหรือท้องถิ่น เว็บไซต์ ส่งไปรษณีย์ สื่อออนไลน์ และ มีการสื่อสารผ่านผู้นำชุมชน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพด้านการลงทะเบียน พบว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการลงทะเบียน เนื่องจากปัจจุบันมีการลงทะเบียนแบบออนไลน์ ส่วนกลางดำเนินการรวบรวมข้อมูลให้ ทำให้ง่ายและคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในบางกรณีมีการพบปัญหาในการรวบรวมข้อมูลลงทะเบียน กล่าวคือ ปัญหาการยื่นลงทะเบียนช่วงปีงบประมาณ บัตรสมาร์ทการ์ดมีข้อมูลแต่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรืออ่านบัตรอ่านไม่ได้ ปัญหาการย้ายของประชาชนย้ายภูมิลำเนา รวมถึงปัญหาไม่แจ้งความจริงให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ ทาให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจสอบ และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ พบว่า การจ่ายเงินส่วนใหญ่โอนเข้าบัญชีธนาคารทั้งหมด ทำให้ไม่มีปัญหาในการจ่ายเงิน แต่อาจมีบางกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ การจ่ายเงินที่การปรับเปลี่ยนทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกิดความสับสนข้อมูล แนวทางในการพัฒนาระบบการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษา พบว่า 1) ให้มีการอัพเดตข้อมูลให้ครบถ้วนในกรณีการจัดเก็บข้อมูลของรัฐบาล หรือ Big DATA เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 2) จัดฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อทำความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทราบเกี่ยวกับข้อบังคับ กฎระเบียบ หรือแนวทางรูปแบบกิจกรรมที่รัฐมีการปรับเปลี่ยน หรือเงื่อนไข ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง3) รัฐบาลควรประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงและหลากหลาย เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวและรับรู้ถึงข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาสิทธิ์ของตนเอง 4) ให้มีการปรับการจ่ายเงินเป็นเฉลี่ยในอัตราเดียวเท่า ๆ กัน เพื่อลดความล่าช้าหรือลดการตรวจสอบช่วงอายุของผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (ยกเลิกการจ่ายแบบขั้นบันได) 5) ให้ส่วนกลางรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบ หรือมีเว็บไซต์เป็นข้อมูลในการตรวจสอบ เช่น การผ่านการเกณฑ์ทหาร การรับบำเหน็จบำนาญให้ครอบคลุม เพื่อไม่ให้เกิดการเรียกคืนเงิน 6) ผู้สูงอายุควรมีบัตรเฉพาะและผูกกับบัญชีธนาคาร หรือการมีบัตรเฉพาะที่มีการคีย์ข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ 7) ให้มีระบบจัดการโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องลงทะเบียน โดยให้ได้รับสิทธิ์ตามอายุ 60 ปีบริบูรณ์ 8) จัดทำ one stop service เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นการลดต้นทุนในการเดินทางติดต่อหน่วยงานของรัฐ ทั้งเรื่องของเวลา ค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้สูงอายุ และ 9) รัฐควรให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวางและอิสระได้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลแต่ละโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล
รายละเอียด: สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4378
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_076.pdf2.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น