กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4377
ชื่อเรื่อง: โครงการ พัฒนาการและการอนุบาลลูกกุ้งมดแดงเบื้องต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development and elementary nursing of Dancing shrimp, Rhynchocinetes durbanensis (Gordon, 1936)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริวรรณ ชูศรี
วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
จารุนันท์ ประทุมยศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ลูกกุ้งมดแดง
กุ้ง - - การเพาะเลี้ยง
กุ้ง - - การขยายพันธุ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: กุ้งมดแดง (Dancing shrimp) เป็นกุ้งทะเลสวยงามขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม และมีรูปร่างลักษณะที่แปลกตา การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาพัฒนาการของลูกกุ้งมดแดงตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) พบว่ากุ้งมดแดงใช้เวลาในการพัฒนาจากระยะซูเอียถึงระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 42 วัน มีพัฒนาการ 13 ระยะ คือ ระยะซูเอีย (Zoea) 12 ระยะ และระยะโพสลาร์วา (Postlarva) คือ ระยะซูเอีย 1 ส่วนของตายังติดอยู่กับส่วนหัว (2.18 ± 0.34 มม.) ระยะซูเอีย 2 เริ่มมีส่วนของก้านตา (2.53 ± 0.19 มม.) ระยะซูเอีย 3 แพนหาง (Uropod) แยกออกจากหางอย่างชัดเจน และมีการสร้างแพนหางด้านในขนาดเล็กขึ้น (3.07 ± 0.38 มม.) ระยะซูเอีย 4 เกิดแพนหางด้านใน (Endopod) ขึ้นซึ่งเห็นได้ชัดเจน (3.24 ± 0.63 มม.) ระยะซูเอีย 5 แพนหางด้านในและแพนหางด้านนอกยาวเท่ากับปลายหาง (4.12 ± 0.87 มม.) ระยะซูเอีย 6 หางแคบเล็กลง คล้ายสี่เหลี่ยม (4.86 ± 0.26 มม.) ระยะซูเอีย 7 เริ่มมีติ่งขาว่ายน้ำขนาดเล็ก (5.49 ± 0.58 มม.) ระยะซูเอีย 8 ขาว่ายน้ำพัฒนาชัดขึ้น (6.09 ± 0.44 มม.) ระยะซูเอีย 9 ส่วนของขาว่ายน้ำเริ่มมีการสร้างติ่งที่ 2 (8.29 ± 0.66 มม.) ระยะซูเอีย 10 ขาว่ายน้ายาวเรียวขึ้น (9.19 ± 0.37 มม.) ระยะซูเอีย 11 ขาว่ายน้ำมีการสร้างติ่งส่วนที่ 3 ขนาดเล็กขึ้น (10.03 ± 0.49 มม.) ระยะซูเอีย 12 เกิดขนอ่อนบริเวณแพนขาว่ายน้ำ (10.14 ± 0.27 มม.) ระยะโพสลาร์วา รูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย (11.72 ± 0.85 มม.) และทำการอนุบาลลูกกุ้งมดแดงเบื้องต้นด้วยโรติเฟอร์และอาร์ทีเมียเสริมด้วยแพลงก์ตอนพืชที่แตกต่างกัน 3 ชนิด คือ Chetoceros sp., Isochrysis sp. และ Tetraselmis sp. ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต และระยะเวลาในการพัฒนาการของลูกกุ้งมดแดง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ความหนาแน่นของลูกกุ้งมดแดง 3 ตัวต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่าลูกกุ้งมดแดงที่อนุบาลด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิดกันไม่มีผลต่ออัตรารอด (p>0.05) คือ 46±8.8%, 56±8.8% และ 46±6.6% ตามลาดับ และการเจริญเติบโตด้านขนาดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (p>0.05) คือ 13.9±0.9 มม., 13.0±0.7 มม. และ 13.1±1.3 มม. ตามลำดับ พัฒนาการของลูกกุ้งมดแดงใช้เวลาในการลงเกาะเร็วที่สุดเมื่ออนุบาลด้วย Chetoceros sp. (อายุ 48 วัน) รองลงมาคือ Tetraselmis sp. (อายุ 62 วัน) และ Isochrysis sp. (อายุ 68 วัน) ตามลำดับ การเจริญเติบโตด้านขนาดของลูกกุ้งมดแดงเมื่อลงเกาะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 13.4±0.4 มม., 11.5±0.1 มม. และ 12.7±0.3 มม. ตามลำดับ เพื่อการอนุบาลลูกกุ้งมดแดงเบื้องต้นให้มีขนาด และพัฒนาการที่ดีควรอนุบาลลูกกุ้งมดแดงที่เสริมด้วย Chetoceros
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากกองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4377
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_068.pdf3.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น