กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4354
ชื่อเรื่อง: การรวบรวมองค์ความรู้ ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพุทธธรรมในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Collection of Knowledge, Potential, and Development Direction of Temple for Promoting Buddhism-Based Tourism in Muang Chonburi and Sriracha, Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
สุรัติ สุพิชญางกูร
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวพุทธธรรม
การท่องเที่ยว
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัด ศึกษาศักยภาพของวัด แนวทางในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ศึกษาพฤติกรรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวทางพุทธธรรมที่พึงประสงค์ของนักท่องเที่ยว และจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงพุทธธรรมในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้การสำรวจ แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวจำนวน ๓๘๕ คน และ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารวัด ที่ผู้วิจัยนำเสนอในโปรแกรมท่องเที่ยว จำนวน ๒๐ แห่ง ผลการวิจัย พบว่า วัดในรัศมีไม่เกิน ๒๐ กิโลเมตรจากหาดบางแสน มีจำนวน ๔๕ วัด มีเกณฑ์การคัดเลือก ได้แก่ ความสวยงามของสถาปัตยกรรม ความสวยงามของจิตรกรรม ประวัติความเป็นมาเก่าแก่ โบราณ กิจกรรมทางประเพณีที่มีเอกลักษณ์ สิ่งที่ดึงดูดใจ (พระพุทธรูป/ พระเกจิ) การเปิดให้สาธารณชนเข้าไปเยี่ยมชมโบสถ์ได้ ทัศนียภาพ และความสะดวกในการเดินทางเข้าถึง พบว่า มีวัดที่ผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกจากผู้วิจัย โดยจำนวน ๒๐ วัด สามารถนำมาพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธธรรม รูปแบบการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสนใจมากที่สุด คือ การท่องเที่ยวตามรอย โดยจะเป็นพุทธศาสนิกชนหรือผู้เยี่ยมเยือนศาสนาอื่นที่ต้องการเพียงเที่ยวชมสถานที่ ให้ได้รับความเพลินเพลินและความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม โดยใช้เวลาไม่เกิน ๑ วัน และการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสนใจกิจกรรมไหว้พระมากที่สุด รองลงมาการเที่ยวชมสถานที่สำคัญในวัด มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวพุทธธรรมและแนวโน้มความต้องการในการท่องเที่ยวทางพุทธธรรมในเขตอำเภอเมืองชลบุรี และ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แนวทางในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ การรักษาความปลอดภัยในวัด การปรับปรุงด้านการบริการของบุคลากรที่ การปรับปรุงด้านบรรยากาศ การเพิ่มการประชาสัมพันธ์ภายในวัดเกี่ยวกับวัดที่สามารถเป็นสถานที่เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และพุทธธรรม และการสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงพุทธธรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณกองทุนวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาประจำปี 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_054.pdf15.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น