กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4348
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorมยุรี พิทักษ์ศิลป์
dc.contributor.authorอรวรีย์ อิงคเตชะ
dc.contributor.authorระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี
dc.contributor.authorเกษมสันต์ พานิชเจริญ
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจ
dc.contributor.authorธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
dc.contributor.authorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2022-05-19T11:31:41Z
dc.date.available2022-05-19T11:31:41Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4348
dc.descriptionทุนสนับสนุนจากแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562th_TH
dc.description.abstractคณะผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมกิจกรรมทางกายเป็นเวลา 12 สัปดาห์สำหรับผู้ใหญ่เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ เราตั้งสมมติฐานว่าโปรแกรมกิจกรรมทางกายนี้จะช่วยให้ระดับการออกกำลังกายเป็นนิสัย สูงขึ้นและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (HRQoL) ดีขึ้น วิธีการ ได้ทำการทดลองมีกลุ่มควบคุมแบบไม่สุ่ม ที่มีการติดตามผลใน 12 สัปดาห์ ผู้สมัครใจเข้าร่วมเป็นบุคลากรทางการศึกษา 186 คน โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกโปรแกรมกิจกรรมทางกาย (PA) จำนวน 109 คน กับกลุ่มควบคุม จำนวน 77 คน วัตถุประสงค์หลักคือการประเมินผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายระยะกลาง (12 สัปดาห์) ต่อสมรรถภาพทางกายเมื่อทดสอบด้วย The ALPHA-FIT Test Battery for Adults Aged 18-69 European Union Thai version ที่ใช้วัดได้ในผู้ใหญ่ที่อายุตั้ง 18-69 ปีวัตถุประสงค์รองคือการประเมินผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายที่มีต่อ HRQoL ผลกระทบจาก PA ด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ HRQoL หรือไม่ วิธีการทางสถิติที่ใช้คือการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มสองกลุ่มที่มีการกระจายตัวของข้อมูลไม่ปกติด้วยสถิติ mann-whitney U test เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนหลังภายในกลุ่มที่มีการกระจายตัวของข้อมูลไม่ปกติด้วยสถิติ Wilcoxon matched pairs และสำหรับข้อมูลประชากรซึ่งเป็นตัวแปรการจัดกลุ่มอิสระเปรียบเทียบด้วยสถิติ student t test สรุปผลและอภิปราย เปรียบเทียบความแตกต่าง EQ-5D-5L score ระหว่าง 2 กลุ่ม ด้วยการกระจายตัวของข้อมูลแบบ non parametric พบว่า หลังการทดลองค่าอรรถนิยม (EQ-5D-5L score) เพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่มโดย กลุ่มควบคุมดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เปรียบเทียบความแตกต่าง EQ-5D-5L score ก่อนหลังทดลอง ภายในกลุ่ม การกระจายแบบ non parametric ด้วย สถิติ Wilcoxon matched pairs ผล ค่าอรรถประโยชน์ไม่ต่างกัน แต่ ค่า EQ-5D-5L score และ VAS เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 กลุ่ม ผลการดำเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณีวิเคราะห์ค่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ก่อนหลังระหว่างกลุ่มพบว่าความแตกต่าง EQ-5D-5L score ระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่า หลังการทดลองค่าอรรถประโยชน์ (EQ-5D-5L score ) เพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่มโดย กลุ่มควบคุมดีกว่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ดังแสดงในตารางที่ 2 ซึ่งไม่ตรงตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ว่ากลุ่มที่ได้รับ intervention น่าจะมีค่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ดีกว่า อย่างไรก็ตามอาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ทั้ง 2 กลุ่มได้รับ คู่มือ และเข้าร่วมกิจกรรมช่วงที่ได้รับความรู้ ด้าน Health literacy เรื่องกิจกรรมทางกายและอาหาร และสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้นกว่าเดิม ประกอบกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพราะมีเพื่อน ๆ เข้าร่วมกิจกรรม โปรแกรมกิจกรรมทางกายเกินครึ่งหนึ่งของบุคลากรทั้งหมด และได้มีการออกกำลังกายกันมากขึ้นกว่าเดิม ผลการดำเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณีวิเคราะห์ค่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ก่อนหลังกลุ่มเดียวกัน พบว่าความแตกต่าง EQ-5D-5L score ก่อนหลัง ภายในกลุ่ม ค่าอรรถประโยชน์ (EQ-5D-5L score ) ไม่ต่างกัน แต่ ค่า EQ-5D-5L score VAS เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทั้ง 2 กลุ่ม จะเห็นได้ว่าการสร้างเสริมกิจกรรมในที่ทางานโดยที่ผู้บริหารเข้าร่วมด้วยมักก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี ส่งเสริมด้าน social determinants คือปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ด้าน สังคม และใจ ได้ การมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ถึงแม้โปรแกรมจะเทียบได้กับกิจกรรมระดับเบาถึงปานกลางแต่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ปรับจากพฤติกรรมเนือยนิ่งมากระฉับกระเฉงเพิ่มขึ้นได้ ผลการดาเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณีวิเคราะห์ค่าสมรรถภาพทางกายก่อนหลังระหว่างกลุ่ม พบว่าความแตกต่างสมรรถภาพทางกาย โดยเทียบก่อนการทดลองพบว่ามีค่ารอบเอวต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยกลุ่มควบคุมมีค่ามากกว่า หลังการทดลองเปรียบเทียบค่าระหว่างกลุ่ม ที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความอ่อนตัว การดันพื้น การลุกนั่งและรอบเอว แม้จะพบว่าหลายด้านดีขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าในสมรรถภาพบางด้านกลับแย่ลงเช่นแรงบีบมือ เวลาที่ใช้ในการเดินระยะ 2 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามความแตกต่างนี้ก็ไม่มีนัยสาคัญทางสถิติเช่นกัน ผลการดาเนินโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา กรณี วิเคราะห์ค่าสมรรถภาพทางกายก่อนหลัง กลุ่มเดียวกัน พบว่าความแตกต่างสมรรถภาพทางกาย ก่อนหลัง ภายในกลุ่ม ทดลองพบว่า ผลที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติคือ ความอ่อนตัว ดันพื้น ค่า BMI น้าหนัก และรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ส่วนในกลุ่มควบคุมพบว่า ผลที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติคือ แรงบีบมือ ดันพื้น ค่า BMI น้าหนัก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังตารางที่ 6 จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กลุ่มมีค่าสมรรถภาพทางกายก่อนหลัง กลุ่มเดียวกัน ดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่ซึ่งถือว่าสำคัญในช่วงเริ่มแรกของการสร้างแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมถึงแม้จะไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติก็ตาม ถ้าสามารถดำรงกิจกรรมเหล่านี้ไว้ในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องอาจก่อให้บุคลากรในองค์กรการศึกษามีสมรรถภาพทางกายดีเหมาะสมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตต่อไป เนื่องจากงานวิจัยกิจกรรมทางกายในปัจจุบันมักพบในกลุ่ม เด็กและสูงอายุ ส่วนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงานนั้นค่อนข้างน้อยซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าเป็น gap of knowledge เมื่อได้ดำเนินการจนเสร็จพบว่า ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างเกิดปัญหา จากเรื่อง วันเวลาสถานที่ การลงข้อมูลต่าง ๆ ในช่วงวิจัยนำร่อง ถึงแม้จะปรับโดยนำวิธี การนำองค์กร ให้เห็นประโยชน์ของกิจกรรม และเอื้อต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกทางก็ยังเกิดปัญหาการออกจากงานวิจัยได้ค่อนข้างสูง จึงขอแนะนำเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่จะดำเนินการในงานต่อไปว่า ถ้าสามารถออกแบบที่ยืดหยุ่น และมีทางเลือกให้ผู้ร่วมวิจัย หรืออาจปรับช่วงอายุที่แคบลง หรือออกแบบเพื่อให้เหมาะหรือ จัดกิจกรรมที่เหมาะเป็นรายบุคคลได้ อาจจะเกิดประโยชน์ในแง่ของความสนใจ ตลอดจนความร่วมมือที่ดีขึ้น เพราะบางกิจกรรม บางคนรู้สึกไม่สนุก หรืออาจไม่ท้าทายสมรรถภาพทางกาย และถ้าออกแบบให้ติดตามได้ต่อเนื่อง มากกว่า 12 สัปดาห์ เช่นที่ 24 สัปดาห์ อาจเห็นประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นได้th_TH
dc.description.sponsorshipแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectสุขภาพ - - การดูแลth_TH
dc.titleการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาด้วยโปรแกรมกิจกรรมทางกายth_TH
dc.title.alternativeEnhancing Health Related Quality of Life in Educators through Physical Activities Programen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailmayuri.md@hotmail.comth_TH
dc.author.emailonwaree@go.buu.ac.thth_TH
dc.author.emailrapeepat@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailkasemsunt@go.buu.ac.thth_TH
dc.author.emailpuangtong@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailtanida@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailyingrata@yahoo.comth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: We have developed a 12-week physical activity program for adults shown to improve physical fitness, and quality of life. We hypothesized that this physical activity program would also contribute to higher habitual physical activity (PA) levels and improved health-related quality of life (HRQoL). Methods: A non randomized controlled trial with follow-up at 12 weeks, including 186 participants, compared a PA training group (n = 109) with a control group (n = 77). The primary aim was to evaluate middle-term effects of the physical fitness on objectively measured by The ALPHA-FIT Test Battery for Adults Aged 18-69 European Union with educator personels. Secondary aims were to assess the effects of the physical activity program on HRQoL, and to study whether any effects on PA were associated with changes in HRQoL. Statistical methods used were compare the differences between the two non parametric distribution groups with the mann-whitney U test statistic, compare previous differences within non parametric groups with Wilcoxon matched pairs and for the demographics data which are independent grouping variables compare with student t test statistics. Results: The difference between the two groups of EQ-5D-5L scores was compared with a non parametric distribution. It was found that after the experiment, the values (EQ-5D-5L score) increased in both groups. The difference between the EQ-5D-5L scores was compared to the non parametric distribution with the Wilcoxon matched pairs. The utility was not different, but the EQ-5D-5L score and VAS increased significantly in both groups Comparison of physical fitness differences between the distribution groups was non parametric and was then analyzed by mann-whitney U test. Before the experiment, it was found that the waist circumference was different with the control group significantly higher. After the experiment, comparing values between groups the improvement of the intervention group compared with the control group, statistically significant were body flexibitity, Modified push-up, Dynamic sit-up (maximum number of sit-ups is 15) and waist circumference. Comparing the difference in physical performance before and after within the non parametric distribution group, the Wilcoxon matched pairs were analyzed in the experimental group. The results were significantly improved in the flexibility of the body, Modified push-up. BMI, weight and waist circumference were significantly reduced. In the control group, it was found that significantly improved in the Handgrip strength, Modified push-up. BMI and weight decreased significantly. Discussion and conclusions the Enhancing Health Related Quality of Life in Educators through Physical Activities Program in terms of health Before, after, between the groups, it was found that the difference between the two groups after the experiment, the utility value (EQ-5D-5L score) increased in both groups, with the control group better. The researchers' assumptions were not met that the intervention group was likely to have a better HRQoL. However, it could be analyzed that both groups were handled and participated in the intervention period. Gain health literacy knowledge on physical activity and diet. And more interested in health care than ever before. Coupled with the environment that has changed because of having friends Join activities. Physical activity programs exceed half of the total workforce. And has exercised more than ever before. Because the research of physical activity is often found in the children and the elderly group, in the adult or working age group, it is relatively small, which the researcher analyzes that is a gap of knowledge when it has been completed and found that the cooperation of participating in the activities was somewhat a problem due to the date, time, place, and various data entry during the pilot research period. Although adjusted by leading the organization to see the benefits of activities and conducive to the participants in all directions, the problem of leaving or drop out is still quite high. It is therefore recommended for the benefit of those who will carry out the next task that If able to design that is flexible and have options for participants or may adjust the age range narrower, designed or organize activities suitable for individuals, may be useful in terms of interest as well as better cooperation. Because some people don't have fun or may not challenge physical fitness. If designed to be monitored continuously for more than 12 weeks, such as at 24 weeks, there may be an increase in effectivenessen
dc.keywordสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_048.pdf4.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น