กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4347
ชื่อเรื่อง: การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเยียวยาในโรงพยาบาลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลชลบุรี ระยอง และพุทธโสธร ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปี พ.ศ. 2563
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Hospital Environmental Management Facilitating Healing Towards Service Quality of Chonburi Rayong and Buddhasothorn Hospital in Eastern Economic Corridor (EEC) Year 2020
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกวิทย์ มณีธร
โชติสา ขาวสนิท
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
การจัดการสิ่งแวดล้อม
คุณภาพการบริการ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเยียวยาในโรงพยาบาล 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลชลบุรี ระยอง และพุทธโสธร ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปี พ.ศ. 2563 และ 3) เพื่อศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเยียวยาในโรงพยาบาลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลชลบุรี ระยอง และพุทธโสธร ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปี พ.ศ. 2563 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นประชากรที่ใช้บริการในโรงพยาบาลชลบุรี ระยอง และพุทธโสธร ใน ปี พ.ศ. 2563 ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือประชากรที่ใช้บริการในโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเยียวยาในโรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม และด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การให้บริการของโรงพยาบาลด้านการปรับปรุงขั้นตอน ด้านภาวะความเป็นผู้นำ ด้านความคาดหวังของผู้รับบริการ และด้านการจัดการกับแหล่งข้อมูลที่สำคัญ การจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจมีความสัมพันธ์กับคะแนนคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลทั้งด้านความคาดหวังของผู้รับบริการ ด้านภาวะความเป็นผู้นำ ด้านการปรับปรุงขั้นตอน ด้านการจัดการกับแหล่งข้อมูลที่สำคัญ และโดยรวม โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันและมีความสัมพันธ์ในระดับสูง ปัจจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลโดยรวม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยปัจจัยทั้ง 3 รวมกันสามารถอธิบายคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลได้ร้อยละ 80.4
รายละเอียด: สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4347
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_047.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น