กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4315
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกฤษณะ ชินสาร
dc.contributor.authorชิดชนก เหลือสินทรัพย์
dc.contributor.authorสุวรรณา รัศมีขวัญ
dc.contributor.authorเบญจภรณ์ จันทรกองกุล
dc.contributor.authorภูษิต กุลเกษม
dc.contributor.authorอัณณ์นุพันธ์ รอดทุกข์
dc.contributor.authorสุกิจ คูชัยสิทธิ์
dc.contributor.authorจรรยา อ้นปันส์
dc.contributor.authorมานิต ชาญสุภาพ
dc.contributor.authorวัชรพงศ์ อยู่ขวัญ
dc.contributor.authorอรศิริ สิงขรณ์
dc.contributor.authorสิริวรรณ พงษศิริ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาการสารสนเทศ
dc.date.accessioned2022-04-01T08:49:35Z
dc.date.available2022-04-01T08:49:35Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4315
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.description.abstractการจำแนกภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง และโรคในกลุ่มสมองฝ่อจากภาพถ่ายถือเป็นงานที่มีความท้าทายยิ่งสืบเนื่องจาก ลักษณะหลายประการที่มีความคล้ายคลึงกันของภาพถ่ายสมองผู้ป่วยในกลุ่มความผิดปกติดังกล่าว ทำให้สร้างความสับสนในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ และอาจนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาด หรือ ล่าช้า ซึ่งในปัจจุบันมีงานวิจัยทางด้านเทคนิคการประมวลผลภาพที่เสนอวิธีใน การจำแนกภาพถ่ายความผิดปกติทั้งสองนี้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังคงไม่ถูกต้องมากนัก ในงานวิจัยนี้จึงนำเสนอขั้นตอนวิธีและลักษณะใหม่ทางภาพถ่าย ที่สามารถใช้ในการจำแนกภาพถ่ายคลื่นสนามแม่เหล็กของสมองผู้ป่วยภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง กับผู้ป่วยโรคสมองฝ่อได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ในขั้นตอนการวินิจฉัยโรคทั้งสองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ ขั้นตอนวิธีที่นำเสนอมีด้วยกัน 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นตอนเตรียมภาพ (Image preprocessing) เพื่อให้ง่ายต่อการประมวลผล, ขั้นตอนสกัดเอาลักษณะเด่นจากภาพถ่ายสมอง และขั้นตอนการ จำแนกด้วยโครงข่ายประสาทเทียม ในส่วนของลักษณะเด่นของสมองที่ถูกสกัดเพื่อนำมาใช้จำแนกความแตกต่างในงานวิจัยนี้มี 5 ลักษณะ ประกอบด้วย 3 ลักษณะดั้งเดิมของโรคภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง 1. อัตราส่วนอีวาน 2.อัตราส่วนของเขาโพรงสมอง 3. มุมของโพรงสมอง และ 2 ลักษณะใหม่ที่นำเสนอ คือ 4. อัตราส่วนรองรอบนอกสมอง และ 5. มุมของเขาโพรงสมอง จากผลการทดลองพบว่า ลักษณะใหม่ที่ได้นำเสนอช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างภาวะน้ำคั่งในโพรงกับโรคสมองฝ่อได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลักษณะรองรอบนอกสมอง ที่แปรผกผันกันระหว่างสองกลุ่มมความผิดปกติ โดยในผู้ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองมีอัตราส่วนรองรอบนอกสมองแคบกว่าคนปกติ กลับกันในส่วนผู้ป่วยสมองฝ่อจะมีอัตราส่วนรองรอบนอกสมองกว้างกว่าคนปกติ ประสิทธิภาพในการจำแนกถูกประเมินด้วย โครงข่ายประสาทเทียมแบบเพอร์เซ็ปตรอนหลายชั้น เมื่อคำนวณหาร้อยละความถูกต้องได้ ผลลัพธ์ดังนี้ จำแนกภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองได้ถูกต้อง อัตราผลบวกจริง 93.3%, อัตราผลบวกเท็จ 1.7% และ ค่าความเหวี่ยง 93.3% จำแนกโรคสมองฝ่อได้ถูกต้อง 98.3%, 6.7% และ 98.3% ตามลำดับth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสมอง - - การบันทึกภาพด้วยรังสีth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการแยกและการวิเคราะห์ความผิดปกติของโพรงสมองจากภาพ MRIth_TH
dc.title.alternativeSegmentation and analysis of the ventricle deformation of brain MR imageth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailkrisana@buu.ac.thth_TH
dc.author.emaillchidcha@chula.ac.thth_TH
dc.author.emailrasmequa@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailbenchapo@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailpusit@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailjanyao@buu.ac.thth_TH
dc.author.emaillekonsiri@gmail.comth_TH
dc.year2561th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_028.pdf8.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น