กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4313
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกรูปแบบใหม่เพื่อการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of novel commercial probiotic product for controlling pathogenic microorganisms and enhancing growth of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: จุลินทรีย์ - - การควบคุมคุณภาพ
โพรไบโอติก
กุ้งขาวแวนนาไม - - การเลี้ยง
กุ้งขาวแวนนาไม - - การเจริญเติบโต
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกรูปแบบใหม่เพื่อการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม” การศึกษาในปีที่ 2 นี้ได้ศึกษาถึงผลของแบคทีเรีย โพรไบโอติกผสม ( ฺBacillus sp. สายพันธุ์ BUU 001, BUU 002, BUU 003, BUU 004 และ BUU 005) ในรูปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและรูปไมโครแคปซูลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพ และเคมีของน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในบ่อเพาะเลี้ยงจำลอง ได้แก่ ความขุ่น ค่าความเป็น กรด-ด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ อุณหภูมิ ความเค็ม แอมโมเนีย ไนไทรต์ ไนเทรตและ ฟอสเฟต และต่อการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ใน Hepatopancreas-Intestine และน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ตลอดระยะเวลา 30 วันหลังการเติมแบคทีเรียโพรไบโอติก และระหว่างการทดสอบการต้านทานแบคทีเรียก่อโรคด้วยการเติม Vibrio harveyi สายพันธุ์ 002 เป็นระยะเวลา 10 วัน จากการศึกษาพบว่าแบคทีเรียโพรไบโอติกผสมในรูปการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง และรูปไมโครแคปซูลมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในด้านการควบคุมคุณภาพน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาว แวนนาไมระยะวัยอ่อน (โพสลาวา 30) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดปริมาณแอมโมเนียและไนไทรต์ให้มี ค่าน้อยกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับอัตราส่วนของ Bacillus ต่อปริมาณ แบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดใน Hepatopancreas-Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมในช่วงก่อน และหลังทดสอบความต้านทานโรคที่เกิดจาก V. harveyi สายพันธุ์ 002 แสดงให้เห็นว่า Bacillus โพรไบโอติกผสมทั้ง 2 รูปแบบสามารถรอดชีวิตและเจริญใน Hepatopancreas-Intestine ของ กุ้งขาวแวนนาไมได้ ส่งผลให้อัตราส่วนของ Bacillus ต่อปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมด ในอวัยวะดังกล่าวของกุ้งขาวแวนนาไมของทั้ง 2 ชุดการทดลองเพิ่มขึ้น ส่วนชนิดของแบคทีเรียวงศ์ Vibrionaceae ใน Hepatopancreas-Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมในช่วง 30 วันก่อนการทดสอบ ความต้านทานแบคทีเรียก่อโรคจำแนกได้ 5 ชนิด ได้แก่ Vibrio campbellii LV 33, V. diabolicus LV 34, Vibrio sp. LV 35, Vibrio sp. LV 36 และ Vibrio sp. LV 37 โดยแบคทีเรียชนิดเด่นที่พบของทั้ง 3 ชุดการทดลอง ตลอดระยะเวลาการทดลอง 30 วัน คือ Vibrio sp. LV 36 (20.00 -25.00%), V. diabolicus LV 34 (18.87-23.47%), Vibrio sp. LV 37 (14.29-22.64%), V. campbellii LV 33 (15.09-21.43%) และ Vibrio sp. LV 35 (15.31 - 18.87%) ตามลำดับ เมื่อเติม V. harveyi สายพันธุ์ 002 ลงในน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมพบว่า แบคทีเรียก่อโรคชนิดนี้กลายเป็นแบคทีเรียเด่นที่พบ ได้มาก (51.79-59.38%) ใน Hepatopancreas-Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมภายใน 2 ชั่วโมงหลัง การเติมแบคทีเรียก่อโรค แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนของ V. harveyi สายพันธุ์ 002 ในชุดที่เติมโพรไบโอติก ทั้ง 2 ชุด มีปริมาณน้อยกว่าในชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาในครั้งนี้สรุป ได้ว่าการเติมแบคทีเรียโพรไบโอติกผสมในรูปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและรูปไมโครแคปซูลสามารถลด ปริมาณแอมโมเนียและไนไทรต์ในน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม รวมทั้งสามารถเพิ่มสัดส่วนของ Bacillus และลดปริมาณแบคทีเรียก่อโรค คือ V. harveyi สายพันธุ์ 002 ใน Hepatopancreas- Intestine ของกุ้งขาวแวนนาไมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4313
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_185.pdf7.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น