กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4306
ชื่อเรื่อง: ประมวลสัญญาณภาพดิจิตอลในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของยารูปแบบเม็ดและแคปซูลในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Digital image processing on local drug identification for Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภักดี สุขพรสวรรค์
สมชาติ โชคชัยธรรม
วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์
คำสำคัญ: ยา
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การระบุเอกลักษณ์ทางกายภาพของยาในประเทศจากอุตสาหกรรมการผลิตยาภายในประเทศที่ผลิตยาตัวเทียบเคียงยาต่างประเทศ ก่อให้เกิดความหลากหลายลักษณะรูปแบบของยาในชนิดนั้น แม้แต่ในอยู่ภายใต้ชื่อสามัญทางยาเดียวกัน แต่กลับมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากยาต้นแบบที่เป็นยาจากต่างประเทศ จนกระทั่งเภสัชกรไม่สามารถที่จะระบุตัวยาได้อย่างชัดเจน เป็นมาในการนำไปสู่การพัฒนาวิธีการประมวลสัญญาณด้วยภาพถ่ายดิจิตอล วิธีการทดลองยากลุ่มแก้ปวดจัดจำหน่ายในประเทศไทยได้ทำการขึ้นทะเบียนยาในช่วงระหว่างระหว่างปี 2559-2560 โดยทำการสุ่มตัวอย่างยากลุ่มแก้ปวดโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตัวอย่างผ่านคุณสมบัติทั้งสิ้นเป็นจำนวน 173 รายการ วิเคราะห์ภาพที่มีความละเอียดเพื่อพิจารณาลักษณะการพื้นผิวยาโดยการหา masking rough surfaces อาศัยหลักการวิเคราะห์เอนโทรปีแสดงความไม่เป็นระเบียบของพื้นผิวยาด้วยภาพ ผลการทดลอง คุณสมบัติการยึดเกาะแป้งในเม็ดยา โดยการวิเคราะห์พื้นผิวอาศัยในการช่วยบ่งบอกจำแนกเอนโทรปีของพื้นผิวยาได้มีค่าเฉพาะตัวของพื้นผิวยามีทับซ้อนข้อมูลในช่วง 0.1-0.15 มากที่สุด กลุ่มยาที่จำแนกแยกชัดเจนที่สุด คือกลุ่ม Diclofenac เป็นตัวแทนของที่มีการเคลือบผิวทุกตัว กับกลุ่มยา Paracetamol เป็นตัวแทนของที่มีไม่มีการเคลือบผิวทุกตัว และวิเคราะห์สีของเม็ดยาด้วยคัดแยกองค์ประกอบสีในโหมดสี RGB จากภาพ Gray ทาการทำการวิเคาระห์พื้นที่จำกัดขอบเขต (Area of interest) ด้วยการตัดภาพ (Cropping) ด้วยการกำหนดพิกัดตำแหน่งของขนาดพื้นที่ตัดภาพในแกน Xmin=230, Ymin=230, width=200, height=200, ทำการตัดภาพที่ rectangular vector ให้ผลการทดสอบโดยการแสดงการจำแนกสีของเม็ดยาได้ 37 เฉดสี การพิสูจน์เอกลักษณะยาในการพิจารณาคุณสมบัติทางกายภาพของได้แม่นยำและถูกต้อง เป็นการพิสูนจ์คุณลักษณะเฉพาะตัวของยานั้น ๆให้ชัดเจนมากขึ้นลดปัญหาความคาดเคลื่อนของมนุษย์
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4306
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_183.pdf15.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น