กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4296
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลลัพธ์และปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ปริกำเนิดของแรงงานต่างด้าวและชาวไทยที่มารับบริการใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on perinatal outcomes and factors affecting perinatal outcomes of migrant workers and Thais in Burapha University Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปราการ ทัตติยกุล
ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
ศุภมาศ ศุภบรรพต
วราวุฒิ เกรียงบูรพา
เบญจารัตน์ ทรรทรานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลลัพธ์ปริกำเนิดและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการ รักษาพยาบาลภายในโรงพยาบาล ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ปริก าเนิดของมารดาต่างด้าวและชาวไทยที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้วิธีศึกษาแบบ Retrospective cross-sectional study ศึกษาในกลุ่มมารดาต่างด้าวเปรียบเทียบกับกลุ่มชาวไทยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาในช่วงระหว่าง ม.ค. พ.ศ.2558 – ม.ค. พ.ศ.2563 ประชากรที่ศึกษาทั้งหมดจ านวน 674 คน แบ่งเป็นมารดาต่างด้าว 337 คน และมารดาชาวไทยจำนวน 337 คน พบว่ามารดาต่างด้าวและมารดาชาวไทย มีข้อมูลทั่วไปทางด้านอายุมารดา อายุครรภ์ การคลอดนอกโรงพยาบาล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มารดาต่างด้าวมีการฝากครรภ์น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P <0.05) และมารดาชาวไทยมีการผ่าคลอดมากกว่ามารดาต่างด้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P <0.05) ในด้านผลลัพธ์ปริกำเนิด ได้แก่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด น้ำหนักทารก คะแนน Apgar การเข้ารักษาตัวใน SNB/NICU ระยะเวลาในการครองเตียงทารก และ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทารก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มารดาชาวไทยกลับมีระยะเวลาในการครองเตียง และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากกว่ามารดาต่างด้าวอย่างมีนัยสสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ปริกำเนิดของแรงงานต่างด้าวและชาวไทย ซึ่งได้แก่ 1) อายุมารดา 2) อายุครรภ์ 3) การฝากครรภ์ 4) ช่องทางคลอด 5) การคลอดนอกโรงพยาบาล และผลลัพธ์ปริกำเนิด ได้แก่ 1) ภาวะตกเลือดหลังคลอดของมารดา 2) คะแนน Apgar Score ≥ 5 ที่อายุ5 นาที3) การไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่แผนก SNB /NICU 4) น้ำหนักทารกปกติ (≥2500กรัม) 5) ระยะเวลาครองเตียงของทารกตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป 6) ระยะเวลาครองเตียงของมารดาตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป พบว่า สำหรับมารดาต่างด้าว ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ของทารกต่างด้าว คือ อายุครรภ์ และการคลอดนอกโรงพยาบาล โดยอายุครรภ์ที่มากขึ้นและการคลอดในโรงพยาบาลจะเพิ่มโอกาสการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักปกติของทารกต่างด้าว คือ อายุมารดา อายุครรภ์ การฝากครรภ์ และช่องทางคลอด โดยอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น อายุครรภ์ที่ลดลง การฝากครรภ์ < 5 ครั้ง และการผ่าคลอดจะลดโอกาสที่ทารกจะมีน้ำหนักปกติ ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของทารกต่างด้าว คือ อายุครรภ์โดยที่อายุครรภ์ที่มากขึ้นจะลดโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่4 วันขึ้นไปของทารก ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของมารดาต่างด้าว คือ ช่องทางคลอด โดยที่การผ่าคลอดจะเพิ่มโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของมารดาเมื่อเทียบกับคลอดทางช่องคลอด สำหรับมารดาชาวไทย ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดของชาวไทย คือ อายุมารดา โดยที่ อายุมารดาที่มากขึ้นจะเพิ่มโอกาสในการตกเลือดหลังคลอด ปัจจัยที่มีผลต่อคะแนน Apgar Score ≥ 5 ที่อายุ 5 นาที ของทารกชาวไทย คือ อายุครรภ์ โดยที่อายุครรภ์ที่มากขึ้นจะเพิ่มโอกาสที่จะมีคะแนน Apgar Score ≥ 5 ที่อายุ 5 นาทีปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ของทารกชาวไทย คือ อายุครรภ์ การฝากครรภ์ และการคลอดนอกโรงพยาบาล โดยที่อายุครรภ์ที่มากขึ้น การฝากครรภ์ ≥ 5 ครั้งและการคลอดในโรงพยาบาล จะเพิ่มโอกาสการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักปกติของทารกไทยและระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของทารก คือ อายุครรภ์ โดยที่อายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มโอกาสที่ทารกจะมีน้ำหนักปกติและจะลดโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของทารก ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของมารดาชาวไทย คือ อายุมารดา และช่องทางคลอด โดยที่อายุมารดาที่เพิ่มขึ้นและการผ่าคลอดจะเพิ่มโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป
รายละเอียด: ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4296
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_175.pdf595.27 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น