กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4291
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณลักษณะทางกายภาพและทางเคมี และคุณภาพทางจุลชีววิทยาของแคนตาลูปตัดแบ่งพร้อมบริโภคที่ขายในจังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of physical-chemical characteristics and microbiological quality of fresh-cut cantaloupe sale in Sa Kaeo Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไกรยศ แซ่ลิ้ม
กัญญารัตน์ เหลืองประเสริฐ
ศุภศิลป์ มณีรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
คำสำคัญ: ผลไม้ - - การจัดและตกแต่ง
แคลตาลูป
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
บทคัดย่อ: แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในจังหวัดสระแก้ว โดยมีการขายทั้งใน รูปแบบผลสดและตัดแต่ง ซึ่งวางขายทั่วไปในตลาดกลางแจ้ง ด้วยเหตุนี้คุณภาพและความปลอดภัยจึงขึ้นกับสภาพการเก็บรักษา ในการทดลองนี้ศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี และปริมาณของจุลินทรีย์ของแคนตาลูปตัดแต่งในจังหวัดสระแก้ว โดยการเก็บตัวอย่างแคนตาลูปตัดแต่งจากร้านหาบเร่แผงลอยและซุปเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 30 ร้าน ประกอบด้วย ร้านหาบเร่แผงลอย จำนวน 17 ร้าน และซุปเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 13 ร้าน โดยนำมาวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี กายภาพ และปริมาณของ จุลินทรีย์ พบว่าแคนตาลูปตัดแต่งมีคุณภาพทางกายภาพของเนื้อผลดังนี้ ค่าความสว่าง (L* value) ในช่วง 56.92-77.41 ค่าความเข้มสี (C* value) มีค่าอยู่ในช่วง 20.56-39.81 ค่าสี (Hue value) ในช่วง 71.38-112.56 และค่าความแน่นเนื้อในช่วง 2.32-11.96 นิวตัน มีค่าคุณภาพทางเคมีของเนื้อ ผลดังนี้ ค่าปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ในช่วง 7.16-14.86 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกรดอินทรีย์ ที่ไตรเตรทได้ มีค่าอยู่ในช่วง 0.004-0.013 เปอร์เซ็นต์ การรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ มีค่าอยู่ในช่วง 10.29-39.18 เปอร์เซ็นต์ และค่าวอเตอร์แอคทิวิตีในช่วง 0.976-0.999 ผลการทดสอบที่ได้เมื่อ เปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาสำหรับผลไม้ตัดแต่งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าตัวอย่างแคนตาลูปตัดแต่งมีความปลอดภัยต่อการบริโภคตามเกณฑ์ 11 ตัวอย่างจาก 30 ตัวอย่าง คิดเป็น 36.67 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณของแบคทีเรียทั้งหมดอยู่ในช่วงระหว่าง 4.x103– 3.56x106 CFU/g และปริมาณเชื้อยีสต์และราทั้งหมดอยู่ในช่วงระหว่าง 0.00–1.40x105 CFU/g แสดงให้เห็นว่าผลไม้สดหั่นชิ้นมีความเสี่ยงสูงของการปนเปื้อนของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จึงควรนำ การปฏิบัติที่ดีสำ หรับการผลิตผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค (Good Manufacturing Practices, GMP) ในระหว่างการเตรียมและการจำหน่ายมาใช้ เพื่อลดปริมาณและชนิดของเชื้อในผลไม้สดหั่นชิ้น ให้อยู่ในระดับที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4291
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_012.pdf5.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น