กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/429
ชื่อเรื่อง: ลำดับขั้นการสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่นในเขตภาคตะวันออกของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Smoking stages among adolescents in the eastern part of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรนภา หอมสินธุ์
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: บุหรี่
วัยรุ่น - - การสูบบุหรี่และยาสูบ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การสูบบุหรี่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยที่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการสูบบุหรี่ ลำดับขั้นการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นไทย ในเขตภาคตะวันออก โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีอิทธิพลสามทาง (The Theory of Triadic Influence (TTI) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6) และนักเรียนอาชีวศึกษา (ปวช.) ทั้งในสังกัดรัฐบาลและเอกชนในเขตภาคตะวันออก จำนวนทั้งสิ้น 800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง การสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่มย่อยวัยรุ่น จำนวน 50 คน เพื่อนำมาอธิบายผลการศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาด้วยสถิติ multinomial logistic regression ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นมีอัตราการสูบบุหรี่ ร้อยละ 24.7 เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ตามระยะต่าง ๆ ของลำดับขั้นการสูบบุหรี่ พบว่า วัยรุ่นมีการสูบบุหรี่อยู่ในระยะมั่นใจที่จะไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 53.7 ระยะลังเลใจที่จะสูบ ร้อยละ 8.8 ระยะทดลองสูบ ร้อยละ 12.8 ระยะสูบตามโอกาส ร้อยละ 15.8 มีเพียง ร้อยละ 1.5 และ 7.4 ที่อยู่ในระยะสูบประจำและระยะติดบุหรี่ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบุหรี่ในระยะต่าง ๆพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะลังเลใจที่จะสูบบุหรี่ ได้แก่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะทดลองสูบบุหรี่ ได้แก่ การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะสูบตามโอกาส ได้แก่ การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ของเพื่อนสนิท ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการยอมรับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะสูบประจำ/ ติดบุหรี่ ได้แก่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ เพศ ความผูกพันกับครอบครัว ความผูกพันกับโรงเรียน และการยอมรับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ จะเห็นว่าทัศนคติต่อการสูบและการถูกชักชวนให้สูบ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทุกระยะของการสูบบุหรี่ ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาดปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความเหมาะสมกับระยะการสูบของเยาวชนเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/429
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_089.pdf8.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น