กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4288
ชื่อเรื่อง: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงของผู้สูงวัยไทยในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Participation Action Research of the Community on Sufficiency health and quality of life in elderly, The eastern region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
เวธกา กลิ่นวิชิต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ - - คุณภาพชีวิต - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต ศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกและ พัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงของผู้สูงวัยบนพื้นฐานแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพปัญหา กลุ่มตัวอย่าง 384 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 50 คน จากประชากรผู้สูงอายุ 4,143,750 คน และกลุ่มผู้ดูแล 334 คน จากประชากร จำนวน 14,142,060 คน พื้นที่ภาคตะวันออกใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี จันทบุรีและสระแก้ว เครื่องมือ กลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) แบบวัดระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (WHOQOL-BREF-THAI) และ 2) แบบประเมินศักยภาพในการดูแลตนเองของ ผู้สูงอายุกลุ่มผู้ดูแล ใช้แบบประเมินศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1) แบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) แบบประเมินปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 3) แบบประเมินความสามารถตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย โดยการสนทนากลุ่ม แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ อภิปรายร่วมกันเพื่อหาแนวทางและรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลรูปแบบ โดยการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มผู้สูงอายุ ระดับคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับดี ร้อยละ 44 ด้านร่างกาย จิตใจ และ สัมพันธภาพทาง สังคมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54, 56 และ 54 ตามลำดับ ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับ ดี ร้อยละ 76 ศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุค่อนข้างเหมาะสม แต่ยังพบปัญหาด้านโภชนาการ และการออกกำลังกายที่ยังไม่เหมาะสม 2. กลุ่มผู้ดูแล การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับ ปานกลาง (X = 3.18, SD=0.69) ปัญหา สุขภาพของผู้สูงอายุที่ดูแล พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 76.39) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 70.03) และ ข้อเสื่อม เก๊าต์ รูมาตอยด์ ปวดข้อ (ร้อยละ 55.17) การประเมินความสามารถตนเองในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าคะแนนเฉลี่ย 6.31/10) 3.รูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ใช้แนวคิดของภาพ “บ้าน” ที่มีสิ่งยึดเหนี่ยวและนำทาง คือ หลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัฐกาลที่ 9 ที่เปรียบเสมือนหน้าจั่วของบ้าน และตัวบ้าน คือ ฐานของความรู้ คู่คุณธรรม โดยผู้สูงอายุเปรียบเสมือนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ที่ประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ที่แวดล้อมด้วยสังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ในภาพรวม ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล มีความคิดเห็นว่า รูปแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียง อยู่ในระดับ มากที่สุด (X =4.62, SD=0.70/ X =4.55, SD=0.64) สรุป การสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ต้องคำนึงถึงกรอบแนวคิดของบ้านอันอบอุ่นเพื่อ สร้างสังคมผู้สูงวัยให้มีความรัก การแบ่งปันและความเอื้อเฟื้อเอื้ออารีต่อกันเปรียบเสมือนเพื่อนบ้านที่ดี ที่มาร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมและชุมชนร่วมกัน
รายละเอียด: โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4288
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_009.pdf1.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น