กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4281
ชื่อเรื่อง: วิถีชาติพันธุ์ชอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี : การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนกับการแพทย์พื้นบ้าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sustainable use of biodiversity and indigenous medicine of Chong Ethnic, Khao Kitchakood District, Chantaburi Provinec
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริอร ศักดิ์วิไลสกุล
พีรพัฒน์ มั่งคั่ง
สกุล ศิริกิจ
วรัมพา สุวรรณรัตน์
พรรณภัทร อินทฤทธิ์
ธนัชพร นุตมากุล
ชลิยา ใจเย็น อะอิดะ
ศิริวดี บุญมโหตม์
ธรรมศักดิ์ สงกา
วัชรพงษ์ สุขีวงศ์
จุฑารัตน์ ตำนานวัน
คำสำคัญ: ชอง - - การดำเนินชีวิต
ชาติพันธุ์วิทยา - - ไทย - - จันทบุรี
ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - แง่การแพทย์
สมุนไพร - - แง่การแพทย์
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิถีชาติพันธุ์ชอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี : การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนกับการแพทย์พื้นบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจ รวบรวม คัดสรร จัดระบบองค์ความรู้การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเกี่ยวกับพืชสมุนไพรกับการแพทย์พื้นบ้าน ของชุมชนชาติพันธุ์ชอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อส่งเสริมฟื้นฟูการใช้ภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของชุมชนชาติพันธุ์ชองอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ให้เกิดปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน 3) เพื่อสืบทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเกี่ยวกับพืชสมุนไพรกับการแพทย์พื้นบ้านของชุมชนชาติพันธุ์ชอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี สู่คนรุ่นใหม่และจัดทำเอกสาร ตำราการแพทย์พื้นบ้านของชาติพันธุ์ชอง 4) เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเกี่ยวกับพืชสมุนไพรกับการแพทย์พื้นบ้านของชุมชนชาติพันธุ์ชอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับเครือข่ายหมอพื้นบ้านชาติพันธุ์อื่น ๆ ในเวทีสาธารณะ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาด้านวัฒนธรรมสุขภาพ (Health Culture) เชิงคุณภาพ (Qualitative Study) ร่วมกับการสำรวจตรวจสอบ (Exploratory Research) และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research) โดยการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แพทย์พื้นบ้านชาติพันธุ์ชองในการใช้พืชสมุนไพร บันทึกชนิดพันธุ์สมุนไพรที่ใช้ และแหล่งของพืชสมุนไพรด้วยการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในตำบลคลองพลู และตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาพบว่าหมอยาพื้นบ้านชาติพันธุ์ชองในตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี มีจำนวน 10 คน และตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรีมีจำนวน 8 คน และสามารถแบ่งหมอยาพื้นบ้านตามวิธีการรักษาคือ การรักษาด้วยการเป่า การรักษาด้วยน้ำมัน การรักษาด้วยสมุนไพร การรักษาด้วยพิธีกรรม และการรักษาด้วยวิธีเหนือธรรมชาติ ซึ่งหมอยาพื้นบ้าน ไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ รวมจำนวน 18 คน นอกจากนี้หมอยาพื้นบ้าน 1 คน ใช้วิธีการรักษามากกว่า 1 วิธี เรียกว่า การรักษาแบบผสมผสานขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ซึ่งเป็นการรักษา ควบคู่กับการรักษาทางด้านจิตใจด้วย และจากการสำรวจพรรณไม้สมุนไพรในบริเวณป่าชุมชนของ ตำบลคลองพลู และเส้นทางเดินในป่าชุมชนบริเวณน้ำตกตะเคียนทอง ผลการสำรวจพบว่ามีพืช สมุนไพร จำนวน 90 ชนิด ทั้งนี้ไม่สามารถระบุชื่อพฤกษศาสตร์หรือชื่อวิทยาศาสตร์ได้ จำนวน 16 ชนิด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4281
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_002.pdf2.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น